Home Editor's Picks การถ่ายภาพพลุ ให้เจิดจรัส ที่ชัดเจน

การถ่ายภาพพลุ ให้เจิดจรัส ที่ชัดเจน

by ChaYen

การถ่ายภาพพลุ ส่วนหนี่งของการเฉลิมฉลอง คงหนีไม่พ้นการจุดพลุลีหรือ Firework ซึ่ง Sydney จะจุดแบบยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้ชาติใด ๆ ในโลกเลยก็ว่าได้

ใกล้ถึงฤดูกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เข้ามาทุกที ส่วนหนี่งของการเฉลิมฉลอง คงหนีไม่พ้นการจุดพลุลีหรือ Firework ซึ่ง Sydney จะจุดแบบยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้ชาติใด ๆ ในโลกเลยก็ว่าได้ จากการจุดในปีที่ผ่าน ๆ มาจะจุดถึงสองครั้งครั้งแรกเวลาสามทุ่มตรงและจะจุดอีกครั้งตอนเที่ยงคืนช่วง Countdown ทีนี้เราจะบันทึกภาพประทับใจของ firework ได้อย่างไร

การถ่ายภาพพลุ

การถ่ายพลุหรือดอกไม้ไฟนั้น เราจำเป็นต้องตั้งสปีดชัตเตอร์สูงๆ เพื่อให้กล้องของเราเปิดม่านรับแสงนานๆ ลองตั้งค่าตั้งแต่ 1 – 10 วินาที เนื่องจากเป็นการถ่ายภาพในตอนกลางคืน จะมืดมากๆ เปิดสปีดชัตเตอร์นาน ม่านชัตเตอร์จากกล้องจะสามารถรับแสงจากพลุได้มากเพียงพอ จนเห็นรายละเอียดของพลุที่เป็นเส้นสาย และได้ภาพพลุสุดเพอร์เฟ็กต์มากๆ

อย่างแรก คือ อุปกรณ์ ที่จะขาดไม่ได้ก็มีดังนี้

• กล้อง SLR หรือกล้องที่สามารถเปิดชัตเตอร์ค้างได้ที่ B และเลนส์ที่จะใช้ถ้าอยู่ใกล้ที่จุดพลมากก็ควรจะใช้เลนส์มุมกว้างมาก ๆ ถ้าอยู่ไกลออกไปก็ใช้ซูมช่วงยาวเช่น 70-200 เป็นต้น

การถ่ายภาพพลุ

-สายกตเตอร์หรือโหมด

• ขาตั้งกล้อง เราควรใช้ขาตั้งที่มีความแข็งแรงเพราะในบางครั้งจะต้องเบียดเสียดกับผู้คนหรือเจอกับวันที่มีลมแรงอาจจะใช้กระเป๋ากล้องถ่วงไว้เพื่อช่วยให้มีมั่นคงมากขึ้นช่วยลดการสั่นไหวเวลาการถ่ายภาพพลง ๆ แล้วไม่ได้มีความยากอย่างที่คิดเพียงให้เรารู้หลักการสักนิดและการใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องเท่านี้เราได้ภาพมีลมแรง ๆ แต่อย่าเพลินกับการถ่ายจนลืมระวังพลุสวย ๆ กลับบ้านแล้วครับกระเป๋านะครับไม่งั้นหายแน่ ๆ

• Memory Card ควรมีพื้นที่ความจํามากพอควรเพราะการกดผิดหวะหรือกดไม่ทันเราจะกดทิ้งแล้วกดใหม่ทัน

• Battery ต้องชาร์จให้เต็มมีสำรองอีกหนึ่งก็จะมาก

Sydney

อย่างที่สองคือหลักการ

เริ่มจากการดูสถานที่ การเลือกสถานที่มีความจําเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

• ดูระยะห่างจากที่จุดพลุ ถ้าใกล้เกินไปปัญหาที่พบคือเก็บพลุดอกใหญ่ได้ไม่หมดถ่ายติดตัวของคนที่อยู่ข้างๆข้างหน้าเราถ้าตั้งกล้องสูงเกินไปก็โดนคนข้างหลังบ่นหรือบริเวณนั้นมีต้นไม้กิ่งไม้หรือเเพลงบนไฟอาจจะบังและการถ่ายแบบใกล้ ๆ จะไม่ได้องค์ประกอบอื่น ๆ จะเห็น แต่พลุบนท้องฟ้าอย่างเดียวเนื่องจากต้องหลบหัวคนถ้าไม่มีองค์ประกอบอื่นในภาพก็ไม่สามารถที่จะสื่อบอกขนาดของพลได้

• ทิศทางของลม เนื่องจากการจุดพลุจะเกิดควันถ้าเราอยู่ใต้ลมควันจะบดบังตัวพลุบนท้องฟ้ายิ่งตอนท้าย ๆ ของการจุดควันจะยิ่งมากถ้าคว้นลอยอาจมีการสำลักควัน

• ดวงจันทร์เต็มดวง มีผลควรหาตำแหน่งที่ไม่ให้ดวนทร์อยู่ในรูปของเราได้ก็จะดี

• เลนส์ที่เหมาะสมกับสถานที่ อยู่ไกล แต่ใช้เลนส์กว้างก็จะได้พลุดอกเล็กเกินตรงกันข้ามถ้าอยู่ใกล้ แต่ใช้เทเลก็จะได้แค่ดอกหรือครึ่งดอกเลนส์ที่น่าใช้ควรเป็นเลนส์อเนกประสงค์ที่อยู่ในช่วง 18-200 / 300 หรือใกล้เสียง

• ควรไปก่อนเวลาให้มาก ๆ เพราะถ้าไปช้าจะไม่เหลือมุมดีๆให้เราตั้งกล้องและจัดแจงเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยอย่าลืมน้ำดื่มหรือของขบเคี้ยวไปด้วยก็จะเป็นการดี

Sydney

“การถ่ายภาพพลุจริงๆ แล้วไม่ได้มีความยาก อย่างที่คิด เพียงให้เรารู้หลักการสักนิด และการใชอุปกรณ์ที่ถูกต้องเท่านี้เราดูจะได้ภาพพลุสวยๆ กลับบ้านแล้วครับ”

ChaYen

การเตรียมตัวเพื่อการถ่าย

ต้องเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนถ่าย เพราะถ้าไม่มีความพร้อมจะเกิดอาการลุกลน กับการปรับกล้อง ตอนเวลาจุดพลุแล้วจะทําให้พลาดโอกาสดีๆ การเตรียมพร้อมมีคร่าวๆดังนี้

• ตั้งกล้องบนขาตั้งและต่อสายชัตเตอร์ให้เรียบร้อยถ่วงขาตั้งถ้าเป็นไปได้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง

• กะระยะของดอกไม้ไฟที่จะบานบนท้องฟ้าแล้วมให้ได้ระยะที่เรากะไว้อย่าลืมจัดองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องการให้อยู่ในภาพของเราให้เรียบร้อยก่อนการจุดพลุ

การถ่ายภาพพลุ

• ปิดระบบ Auto Focus ให้ใช้การปรับแบบ Manual ปรับไปตรงจุดที่จะจุดพลุโดยการใช้ตัวอาคารหรือต้นไม้เป็นหลักในการปรับ

• ISO ที่ใช้ก็ควรจะอยู่ต่ำ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกเม็ดของภาพมากสุดไม่ควรเกิน 400

• การเปิดรูรับแสงที่ใช้โดยทั่วไปก็จะอยู่ระหว่าง FB ถึง F16 จากประสบการณ์ F16 คือรูรับแสงผมใช้ในการถ่ายพลุ แต่ถ้าพลุน้อย ๆ ก็จะลดลงมาที่ F11 แต่จะไม่นิยมกว้างกว่านี้-ปรับตเตอรี่ BULB หรืออักษรย่อนกล้องคือ B

• ก็คงมี แต่ WB เท่านั้นที่สามารถตั้งไว้ที่ตำแหน่ง Auto ได้

• ทดลองถ่ายเล่น ๆ สัก 2-3 ภาพเพื่อดูองค์ประกอบแบบไม่มีพลุที่เราจัดไว้แล้วตรวจความพร้อมกรอบเพื่อความมั่นใจแล้วก็นั่งรอ

การถ่ายจริง

• อย่าตื่นเต้นหรือลุกสนเพราะจะทำให้พลาดโอกาสงาม ๆ ไปให้คิดเสมอว่าพลุไม่ได้จุดแค่ดอกเดียว

• เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็มาถึงเวลาถ่ายจริงเสียทีถ้ามีการนับถอยหลังให้กดชัตเตอร์การนับครั้งสุดท้ายรอจนพลุโรปจึงปิดชัตเตอร์ถ้าปิดเร็วเส้นแสงจะขาดและดูแล้วไม่มีความสมบูรณ์เท่าที่ควร

• ถ้าไม่มีการนับถอยหลังก็ให้ดูที่แสงที่กำลังพุ่งขึ้นจากพื้นดินให้รีบกดในช่วงนี้แล้วก็รอจนพลโรยจึงปิดชัตเตอร์ถ้าพลาดก็ขอให้พลุดอกนี้โรยแล้วกดชัตเตอร์ทันทีตอนที่ไม่มีอะไรอยู่บนท้องฟ้าเพราะว่าดอกต่อไปกำลังจะตามมาติดๆ (พลุส่วนมากจะจุดแบบต่อเนื่องการกดแบบนี้จะทำให้เราดอกจนร่วงโรยมีความสมบูรณ์บางครั้งการรอนานได้เส้นแสงที่เริ่มจากพื้นดินสู่ท้องฟ้าและบานเต็มเป็นชุดใหม่ก็จะตามมาต้องระวังจุดนี้ด้วยครับ

Sydney Harbour

• การกดตอนที่พลุแตกหรือกำลังบานเต็มดวงอยู่บนท้องฟ้าภาพที่ออกมาจะดูไม่น่าสนใจไม่เห็นการแตกออกจากจุดระเบิดบนท้องฟ้าไม่เห็นจุดใจกลางดอกจะได้ แต่เส้นที่กำลังจะโรยให้ปิดกดชัตเตอร์ต่อทันทีตอนที่ไม่มีอะไรอยู่บนท้องฟ้าชัตเตอร์ทิ้งทันทีอย่าเสียดายรอให้พลุดอกโรยแล้ว-ตากล้องบางท่านมีการใช้หมวกหรือกระดาษบังหน้ากล้องช่วงรอพลก็อาจจะได้ผลในกรณีที่มีการเว้นระยะของการจดแต่ละดอก แต่ถ้าจุดแบบต่อเนื่องบอกตรงๆไม่ทันกินครับไม่มีเวลาเอาหมวกออกอาจจะไปเกี่ยวกับปลายเลนส์ทำให้ตำแหน่งที่เราตั้งไว้คลาดเคลื่อนใช้ F16 จะไม่โอเวอร์ถ้าต้องรอนานถ้านานเกินไปใช้วิธีกดทิ้งแล้วกดใหม่จะดีกว่า

• เมื่อ การถ่ายภาพพลุ พอประมาณแล้วก็ลองเอาเฉพาะดอกบ้างหรือถ้ามีการจุดบนตัวอาคารหรือสิ่งก่อสร้างก็ควรเก็บมาบ้างเพื่อความหลากหลายลองไปทดลองกันดูนะครับ

Related Articles