การถ่ายภาพแบบมาโคร เป็นศิลปะการถ่ายภาพระยะใกล้ของวัตถุที่มีความละเอียด สำหรับบางคนเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องมีการคิดและจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างจากภาพถ่ายแนวอื่น และต้องใช้เลนส์ที่เฉพาะ
ทำให้ช่างภาพสามารถแสดงรายละเอียดที่โดยปกติแล้วสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก พอเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิดอกไม้เบ่งบานสะพรั่งแทบจะทั่วทุกหนทุกแห่ง เหล่านี้แบบโคลสอัพกันดีกว่าครับเรามาลองเก็บภาพความสวยงามของดอกไม้

อุปกรณ์ที่ใช้
กล้อง
ถึงแม้จะเป็นกล้อง Compact ถ่าย Macro ได้ส่วนใหญ่แล้วจะมีฟังชั่น Macro มาให้เราได้ใช้กัน ก็เพียงแค่หมุนตัวปรับไปยังไอคอนรูปดอกไม้แล้วก็นำกล้องเข้าไปใกล้ ๆ กับวัตถุที่จะถ่าย แต่อย่าให้เป็นระยะโฟกัสใกล้สุดจัดองค์ประกอบกดชัตเตอร์แค่นี้ก็ได้ภาพมาโครแล้วครับ แต่กล้องประเภทนี้ มีข้อจํากัดเช่น เราไม่สามารถที่จะทำให้ฉากหลังละลายหรือเบลอออกไปเพื่อเน้นตัวดอกไม้ให้เด่นขึ้นมาเป็นต้น
กล้อง DSLR จึงน่าจะเป็นกล้องที่เหมาะสมที่สุดในการถ่ายภาพแนวนี้สามารถนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์เฉพาะเพื่องานนี้เช่นเลนส์ Macro หรือน่าเลนส์ธรรมดามาต่อข้ากับ Extension Tube หรือ Teleconverter หรือ Close Up Filter ก็สามารถถ่ายภาพได้ใกล้ ๆ และสามารถควบคุมความชัดลึกหรือขัดพื้นได้ดีกว่ากล้อง Compact

ขาตั้งหรือ Tripod
มีความจําเป็นอย่างมากสําหรับการถ่ายภาพมาโคร เนื่องจากการถ่ายภาพแบบนี้มีอัตราการขยายที่สูงมาก การคลื่อนไหวน้อยนิดมีผลมหาศาลต่อความคมชัด ขาตั้งที่เหมาะกับงานมาโครต้องสามารถปรับราบลงกับพื้นได้ใช้ในกรณีที่วัตถุอยู่ติดกับพื้นดินเช่น เห็ดบางชนิดหรือดอกไม้ที่อยู่ต่ำ ๆ ใกล้พื้นดินแกนกลางของขาตั้งที่ดีสามารถถอดมาใส่แนวนอนหมุนรอบตัว 360 องศา หรือถอดใส่กลับหัวได้หัวที่ใช้ก็น่าจะเป็นหัวบอลเพื่อความว่องไวและมีความคร่องตัวกว่าหัวแพน

สายกดชัตเตอร์หรือรีโหมด
การใช้สายกดหรือรีโหมดจะช่วยลดการสั่นสะเทือน เวลากดชัตเตอร์ได้มากเพราะการถ่ายภาพแบบนี้ มีอัตราการขยายที่สูงมีความชัดตื้นมาก การสั่นเพียงเล็กน้อยมีผลกับความคมชัดของภาพ หรือหลุดโฟกัสไปเลยหากกล้องสามารถปรับเพื่อล็อกกระจกได้ ควรใช้ให้เกิดประโยชน์การสั่นสะเทือนของกระจกที่ยกขึ้น และตกลงด้วยความเร็วสูงระหว่างการกดชัตเตอร์ที่มีผลต่อความคมชัดด้วยเช่นกัน
“การจัดองค์ประกอบและมุมมอง การถ่ายภาพแบบมาโคร ก็เหมือน ๆ กับการถ่ายภาพทั่วๆไปที่ต้องมีการจัดองค์ประกอบอื่น ๆ มาเสริมเพื่อความสมบูรณ์ของผลไม้อาจใช้หรือดอกตูมภาพ”

แฟลช
บางครั้งแสงจากธรรมชาติไม่เอื้ออำนวยการใช้แฟลมีส่วนช่วยได้มาก แฟลชที่ใช้ควรแยกออกจากตัวกล้องด้วยการใช้สายต่อหรืออาจจะควบคุมด้วย Command Mode หรือต่อเข้ากับ Flash Trigger แล้วยิงแสงมาจากด้านหน้าซ้ายหรือหน้าขวาหรือหน้าบนท่ามุมยกกับกระบอกเลนส์เพื่อภาพที่ได้จะดูแล้วมีมิติ ไม่เรียบแบนระยะห่างก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าช่องรับแสงหรือใช้วิธีลดกําลัง Flash ลงก็ได้
หากต้องการให้ฉากหลังควรสวมท่อบังคับแสงไว้หน้าแฟลช (ท่ากรวยบีบแสงเองก็ได้ด้วยการใช้กระดาษสีดำมาม้วนเป็นท่อแล้วสามเข้ากับแฟลช) การถ่ายให้แสงลักษณะนี้จะทำให้ฉากหลังมีความมืดดำเนินการขับให้ตัววัตถุที่เราถ่ายดูโดดเด่นออกมา

เวลาที่เหมาะกับการถ่ายภาพ Macro
เวลาที่เหมาะก็น่าจะเป็นช่วงเช้า ๆ แดดไม่แรงดอกไม้จะดูสดไม่เกี่ยวบางครั้งยังมีน้ำค้างเกาะอยู่ช่วยเพิ่มความสดชื่นของดอกไม้ (ในกรณีที่ไม่มีน้ำค้างเกาะเราอาจจะใช้กระบอกฉีดฉีดเพื่อเลียนแบบก็ได้ แต่ต้องไม่ฉีดมากจนเกินไปเพราะจะแล้วไม่เป็นธรรมชาติในกรณีที่ใช้ใบไม้มาเป็นองค์ประกอบของดอกไม้เราควรฉีดทั้งดอกและใบ) ผลดีอีกอย่างของการถ่ายภาพในตอนเช้า ๆ คือลมจะยังไม่แรงลมปัญหาใหญ่ของการถ่ายภาพ Macro เป็นอย่างมาก
การเลือกเป้าหมาย
การถ่ายดอกไม้ควรเลือกดอกที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดปราศจากรอยกัดแทะของแมลงไม่เหี่ยวไม่โรยถ้าไม่มีทางเลือกให้ลองเปลี่ยนมุมเพื่อบังตำแหน่งที่มีรอยตำหนิไว้ในฝั่งตรงกันข้ามดอกไม้บางชนิดเช่นกุหลาบสามารถเกิดกลีบที่มีตำหนิทิ้งไปได้ถ้าในกลุ่มดอกไม้ที่จะถ่ายมีดอกเดี่ยว ๆ หรือกิ่งไม้แห้ง ๆ อยู่ใกล้ ๆ ควรเด็ดดอกที่เที่ยวทิ้งหรือจัดแยกให้พ้นไปจากฉากการใช้ไม้ปักเพื่อแยกสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

การวัดแสง
การวัดแสงที่ได้ผลดีควรจะเป็นการวัดแบบจุดหรือ Spot Metering หรืออาจจะใช้การวัดแบบค่าเฉลี่ยกลางก็ได้
ทิศทางของแสง
การถ่ายภาพดอกไม้ไม่นิยมถ่ายแสงที่มาจากด้านหลังของเรา เพราะจะทำให้ภาพดูเรียบแบนหากเป็นไปได้ ควรเลือกแสงมาจากด้านหน้าซ้ายหรือหน้าขวา หรือหน้าบนทํามุมกับกระบอกเลนส์การถ่ายภาพที่งย้อนแสงแบบนี้ ดอกไม้จะเกิดมีเงาของกลีบตกลงบนกลีบที่อยู่ต่ำกว่า หรือกลีบที่อยู่ทิศทางตรงภาพที่ได้ จะดูแล้วมีมิติกลีบดอกไม้บางชนิดมีความบางมีเส้นสายใยในกลีบดอกที่สวยงามเมื่อถ่ายย้อนแสงจะเห็นลวดลายที่อยู่ในกลีบดอกดูโดดเด่นสวยงามไปอีกแบบ

จุดโฟกัสและการปรับ
ส่วนใหญ่แล้วไม่นิยมการใช้ Auto Focus เนื่องจากระยะการถ่ายที่ใกล้มาก ๆ กล้องอาจทําการปรับโฟกัสได้ไม่แม่นยำดังนั้นการปรับเองเป็นวิธีที่ได้ผลที่แม่นยำกว่าการถ่ายดอกไม้จุดปรับโฟกัสควรโฟกัสที่เกสรเพราะไม่ว่าส่วนใหน ๆ ของดอกจะมีความคมชัดมากเพียงใดถ้าเกสรหลุดโฟกัสจะทำให้ดูแล้วเหมือนไม่ชัดไปทั้งดอก

การเปิดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์
โหมดที่ใช้ในการถ่ายภาพมาโครที่นิยมใช้กันสองแบบ แบบแรก คือปรับเองทั้งหมดหรือ Manual และ แบบที่สอง คือ Aperture Priority เนื่องจากเราต้องการควบคุมความชัดลึก หรือขัดพื้นให้เป็นไปแบบที่เราต้องการมีผลกับการเบลอฉากหน้าและหลัง ส่วนการเบลอฉากหลังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเบลอเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ภาพดูสวยงามลงตัวมากที่สุด ดังนั้นการปรับช่องรับแสงจะไม่แน่นอนตายตัวความแตกต่างของการเปิดช่องรับแสง เพื่อควบคุมความชัดลึก
ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลาย ๆ อย่างเช่นเราจะถ่ายดอกไม้ต้องดูว่าดอกไม้เราจะถ่ายอยู่ห่างจากส่วนประกอบอื่น ๆ หรือฉากหลังมากน้อยเพียงใดต้องด้วยว่ารูปทรงของดอกไม้มีความแบนหรือเป็นทรงกลมหรือกรวยเป็นช่อหรือเป็นพุ่มหากเป็นบ่อควรเลือกมุมที่ช่อดอกไม้ทำแนวขนานกับตัวกล้องเพื่อจะได้ชัดทั่ว (เกือบ) ทั้งช่อ การเปิดช่องรับแสงแคบ ๆ อาจมีผลทำให้ฉากหลังกลายเป็นสีดำทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มหรือเงามืดของฉากหลังรวมทั้งตำแหน่ง ตกกระทบของแสงกับตัวดอกไม้ด้วย

ฉากหลัง
เลือกฉากหลังที่เรียบง่ายไม่รกตาวัตถุที่จะถ่ายที่มีสีเข้มควรหลีกเลี่ยงฉากหลังที่มีความมืดเพราะจะทำให้วัตถุที่จะถ่ายกลมกลืนไปกับฉากหลังเปลี่ยนมุมใหม่หากดูแล้วมีจุดสว่างในภาพจนเด่นเกินไปอาจใช้การขยับหลบเพียงน้อยนิดก็เกินพอ
TIP: การจัดองค์ประกอบและมุมมอง การถ่ายภาพแบบมาโคร ก็เหมือน ๆ กับการถ่ายภาพทั่วๆไปที่ต้องมีการจัดองค์ประกอบอื่น ๆ มาเสริมเพื่อความสมบูรณ์ของผลไม้อาจใช้หรือดอกตูมภาพเช่นถ้าถ่ายดอกไม้หรือมาเสริมบ้างเล็กน้อย 1 ดอกมาถ่วงน้ำหนักหรือเพิ่ม * แต่ไม่ควรไม้ที่อื่น ๆ 201 สีนเป็นตัวหลักหลีกเลี่ยงการวางจุดสนใจไว้กลางภาพใช้หลัก Rule of ard แต่ไม่จำเป็นเสมอไปครับลองดูนะครับ

อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ แผ่นสะท้อนแสงหรือจะใช้กระดาษสีขาวแทนก็ได้ขนาดก็ไม่ต้องใหญ่มากเหมาะสําหรับการใช้สะท้อนแสงเพื่อเปิดส่วนมืดของดอกไม้กระบอกฉีดน้ำถ้าอยากให้ภาพดูแล้วเหมือนกับถ่ายตอนเช้า ๆ หรือหลังฝนตกช่วยทําให้รูปดูสดชื่นขึ้นมากกระดาษสีด่าเพื่อทําให้ฉากหลังเป็นสีด่าควรเป็นสีด้าน