Home บทความอยู่ออส งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน สู่โลกภายนอก

งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน สู่โลกภายนอก

by ChaYen
งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน

งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน ในปัจจุบันศิลปะข้างถนนหรือสตรีทอาร์ตนั้นได้รับความนิยมตามกระแสสังคมที่ ออกมาสู่โลกภายนอกให้คนไทยได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

จากการบอกเล่าถึงงานศิลป์ของเมืองไทย โดยสองศิลปินแนวสตรีทอาร์ตระดับแถวหน้าของเมืองไทย ว่างานศิลป์ที่ไทยหาดูได้ยาก พอจัดงานกันแต่ละทีก็ดูเหมือนส่วนใหญ่จะเป็นงานเลี้ยงรุ่นกันซะมากกว่า แต่ในปัจจุบันศิลปะข้างถนนหรือสตรีทอาร์ตนั้นได้รับความนิยมตามกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งตรงจุดนี้เองเป็นข้อดีที่ทำให้งานศิลป์ออกมาสู่โลกภายนอกให้คนไทยได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และทำให้ศิลปินไทยหลายคนกลายเป็นที่รู้จักและได้ไปแสดงผลงานทั่วโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ หนึ่งในนั้นก็คือ คุณอเล็ก คุณบอน และคุณก้อง ที่นำผลงานมาจัดแสดงที่แกลเลอรี Muse Clinic, Darlinghurst ซึ่งทีมงาน VR Thai ก็ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเก็บภาพและสัมภาษณ์ศิลปินในการจัดแสดงงานในครั้งนี้

บอน และ ก้อง

ทำความรู้จักกันหน่อย

บอน: ชื่อบอน (Bon) ครับ ผมจบคณะจิตรกรรม จากราชมงคลพระนครใต้ คณะนี้มีรุ่นเดียวครับ แล้วเขาก็ยุบคณะนี้ไปเลย หลังจากจบมา
ก็ทำงานศิลปะข้างถนนมา 10 กว่าปีแล้วครับ เพราะผมต้องการแชร์งานศิลปะกับสังคม ผมอยากให้คนไทยได้คิด

ก้อง: สวัสดีครับ ผมก้อง ราชันย์ กล่อมเกลี้ยง ก็เรียนรุ่นเดียวกันกับบอนมาเลยครับ แต่มาทำงานสตรีทอาร์ตหลังบอนนิดหน่อย ส่วนการ
แสดงงานในครั้งนี้ มีพี่อีกคนนึงที่นำงานมาแสดงด้วยอีกคนก็คือ พี่อเล็ก เฟสครับ แต่พี่เขามีธุระต้องกลับไทยไปก่อน คนนี้ที่เมืองไทยป็อปมากครับในวงการนี้ใครๆ ต้องรู้จักพี่อเล็ก เฟส

งานศิลป์และปรัชญา

เริ่มทำงานสตรีทอาร์ตได้อย่างไร

ก้อง: ตอนเรียนก็ทำงานไปตามระบบ แต่ก็รู้สึกตลอดว่าอยากให้ข้างนอกเป็นแกลอรีมากกว่า เพราะข้างใน (แกเลอรี) คนเสพย์งานศิลป์ได้ยากมาก พอเรียนจบ ก็เริ่มงานข้างถนนแต่เป็นแนวสังเกตุการณ์มากกว่าในช่วงแรก ก่อนจะเข้าไปทำแบบเข้มข้นจนถึงทุกวันนี้

บอน: ผมตั้งใจไว้ตั้งแต่ตอนเรียนแล้วว่าเรียนจบเมื่อไหร่ ผมจะไม่ทำงานศิลปะในแกเลอรี เพราะว่านับถอยหลังไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในเมืองไทย แทบไม่มีใครสนใจศิลปะซักคนนึง การแสดงงานศิลปะซักครั้งเนี่ย มันเหมือนกับการจัดปาร์ตี้ให้เพื่อน พี่ ครู อาจารย์ หรือคนในวงการศิลปะ ที่พวกเขาเหล่านี้เคยมางานผมที่บ้านอยู่แล้ว

จัดก็ขายไม่ได้ จัดงานทีนึงก็ใช้เงินเยอะ ซึ่งมีคนดูไม่ถึง 20 คนผมคิดว่านั่นไม่ใช่การกระตุ้นงานศิลปะ ถ้าคนในประเทศไทยตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ศิลปะเข้าถึงประชาชนคนไทยได้มากที่สุด ศิลปะข้างถนนนี่แหละคือคำตอบที่ผมตอบคำถามให้กับสังคม

งานศิลป์และปรัชญา

สไตล์ของแต่ละคน

บอน: งานผมจะได้รับอิทธิพลจากสังคมตลอดเวลา ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร มันจะกระทบมาหาศิลปินตลอดเวลา ศิลปินจะเอาผลกระทบนั้นมากลั่นออกมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะส่วนแนวของพี่อเล็ก จะเป็นรูปเด็กที่คล้ายๆ กระต่าย ซึ่งเขาได้แนวความคิดมาจากลูกของเขา ซึ่งเขาต้องการสื่อว่าต่อไปลูกของเขากำลังจะเจออะไรบ้าง รวมทั้งพูดถึงเหตุการณ์ ความเป็นไปของสังคมที่ใช้รูปเด็กเป็นสื่อ อย่างเช่น สังคมเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง เด็กก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งเด็กนั้นเบาบางเกินกว่าที่จะเอาอะไรไปยัดเยียด

“สมัยก่อนในเมืองไทย แทบไม่มีใครสนใจศิลปะซักคนนึง การแสดงงานศิลปะซักครั้งเนี่ย มันเหมือนกับการจัดปาร์ตี้ให้เพื่อน พี่ ครู อาจารย์ หรือคนในวงการศิลปะ ที่พวกเขาเหล่านี้เคยมางานผมที่บ้านอยู่แล้ว จัดก็ขายไม่ได้ จัดงานทีนึงก็ใช้เงินเยอะ ซึ่งมีคนดูไม่ถึง 20 คน”

ChaYen


ก้อง: รู้สึกว่าผมเป็นคนชอบตัวหนังสือมาตั้งแต่เด็กแล้ว ชอบความเป็นฟร้อนผมเป็นคนเดียวของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ที่ใช้ฟร้อนไทย แต่ก็ใช้ภาษาอังกฤษบ้างเวลาไปแสดงงานในต่างประเทศ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ฝรั่งเขาไม่รู้ว่านี่คือตัวอักษรภาษาอะไร แต่ด้วยเคริฟ ด้วยเส้น ทำให้เขารู้ว่า นี่มาจากเมืองไทย ซึ่งตรงนี้มันสามารถสื่อความหมายได้

ผมใช้ฟร้อนภาษาไทยเป็นหลัก และเปลี่ยนเรื่องราวไปเรื่อยๆ ตามเรื่องราวที่มันเกิดขึ้นในสังคม ส่วนใหญ่สายฟร้อนเขาจะเป็นการเอาอัตตาของตัวเองไปแปะไว้ เช่น เขียนชื่อตัวเอง เขียนชื่อแก๊งค์ ไปตามข้างฝาแล้วไม่แชร์กับคนข้างนอก แต่ผมไม่เคยเขียนชื่อตัวเองเลย เพราะผมอยากให้เห็นเนื้องานมากกว่าอัตตา

งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน

ช่วยอธิบายงานให้ฟังหน่อย

ก้อง: อย่างอันนี้เล่นกับวัสดุ เป็นของจับฉลาก เสี่ยงดวงตามร้านค้าสมัยก่อน ก็เลยเอามาใช้เพื่อสื่อถึงคนไทยที่ไม่ว่าจนหรือรวยก็ชอบเสี่ยงโชค ส่วนอันนี้เป็นอักษรไทย ก-ฮ วาดลงในสมุดบัญชีธนาคารเก่า เพราะอยากได้รายละเอียดของตัวอักษรที่อยู่ในบัญชีธนาคาร

งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน

บอน: งานชุดนี้เป็นป้ายโฆษณาที่ผมเก็บมาจากเสาไฟข้างถนน ชุดนี้เป็นชุดที่ทำให้ผมมีชื่อเสียงที่อังกฤษมาก ผมทำไปโชว์ที่อังกฤษ
30 ชิ้น ขายหมดในวันเดียว มาโชว์ที่นี่ก็ใช้วัสดุเดียวกัน แต่รูปแบบไม่ซ้ำกัน ของพวกนี้แทบจะไม่มีค่าแล้ว แต่ผมไปดึงมันมาแล้วทำให้มัน
มีคุณค่า อันนี้มันคือความร่วมสมัย คือใช้สิ่งที่เก่าเอามาเล่าเรื่องใหม่ เหมือนชุบชีวิตคนแก่แล้วแต่งตัวให้เขาใหม่ ของพวกนี้มันดูมีเรื่อง
ราวในตัวของมันเอง

ทีวีแมน

ส่วนชิ้นนี้ ผมตั้งชื่อมันว่า ทีวีแมน ผมได้รับอิทธิพลมาจากสื่อในประเทศไทยเพราะว่า ยุคสมัยของผมที่เกิดมาเนี่ย แม่ผมทำงานหนักมาก เพื่อเลี้ยงลูก 3 คน พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก ก็ทิ้งลูกไว้กับทีวี ผมก็โตมากลับทีวี ผมก็เลียนแบบมากับทีวี ไม่ใช่แค่ผมเท่านั้น ผมว่าทุกคนในโลกเราด้วยซ้ำ มันเป็นอิทธิพลที่ส่งผ่านเข้าไปโดยตรงกับสมองของเรา และมันจะออกมาโดยที่คุณไม่รู้ตัว

อยากแนะนำน้องรุ่นหลังที่ชอบ งานศิลป์และปรัชญาข้างถนน อย่างไร

บอน: เอาเงินซื้อเสื้อผ้า เอาเงินที่จะไปเที่ยว มาซื้อสีสเปรย์ พ่นให้เยอะ พ่นให้หนัก วาดให้หนัด วาดทุกวัน เจียดเวลาจากการไปเที่ยว มาทำงานเยอะๆ แล้วงานมันจะพาคุณมาเอง ผมไม่ได้มาถึงจุดนี้ด้วยตัวเองนะ ผลงานต่างหากเป็นสิ่งที่พาผมมาถึงจุดนี้ ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก อย่าทำงานหนักจนไม่มีเวลาทำงานส่วนตัวซึ่งผมว่าวิญญาณเราจะหายไป แล้ววันนึงเราจะเหลือเพียงร่างที่มีชีวิตเพื่อสังคมเท่านั้นเอง

ก้อง: โฟกัสให้ถูกที่ โฟกัสที่ตัวงาน อย่าไปติดหล่อ ทำงานดีที่สุด ของแบบนี้ มันมากับแฟชั่น แต่คุณต้องแยกให้ออกว่า คุณจะเป็นนายแบบหรือคุณจะเป็นศิลปิน

Related Articles