Home บทสัมภาษณ์ ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย บนเวทีงานไทยแลนด์แกรนด์

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย บนเวทีงานไทยแลนด์แกรนด์

by ChaYen
Special Event1

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย บนเวทีงานไทยแลนด์แกรนด์ ท่วงท่าการร่ายรำที่อ่อนช้อยของนักแสดงท่ามกลางเสียงดนตรีที่ไพเราะ อ่อนหวาน สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ในฐานะที่เราเป็นคนไทยก็น่าปลื้มใจที่ทุกคนให้การตอบรับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดีและเพื่อให้เราได้รู้จักพวกนักแสดงที่มาโชว์ในงานดีมากขึ้น ทางทีมงานวีอาร์ไทยจึงได้นำทีมมาสัมภาษณ์กลุ่มศิลปินทั้ง 3 แขนงที่มาทำการแสดงในปีนี้

วงกอไผ่ ดนตรีไทยร่วมสมัย

สมาชิก
คุณประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์: ขลุ่ย,ซอ คุณอัครพล อภิโช: กีต้าเบส
คุณอมร พุทธานุ: คีย์บอร์ด คุณทศพร ทัศนะ: กลองชุด
คุณทวีศักดิ์ อัครวงษ์: ระนาดเอก,ฉิ่

Special Event

คนหลายๆ คนเปรียบเสมือนต้นไผ่หลายๆ ต้น ที่รักในสิ่งเดียวกันและรวมตัวกันเป็นกอไม้ใหญ่ เพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ด้วยวงดนตรีที่ชื่อว่า “กอไผ่” วงกอไผ่เกิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว การรวมตัวของสมาชิกในวงเกิดจากการที่แต่ละคนไปประกวดดนตรีในงานต่างๆ สมัยเป็นนักเรียนแล้วได้มีโอกาสมาเจอกันเห็นฝีไม้ลายมือกันก็เลยชวนกันมารวมตัว

หลังจากรุ่นพี่เรียนจบไปรุ่นน้องก็เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่แตกหน่อกอไผ่ให้ใหญ่ และในช่วงหลังนี้เองที่เริ่มมีการผสมผสานเอาดนตรีสากลเข้ามาเล่นรวมกันกับดนตรีไทย

คุณประสาร พูดถึงแนวเพลงว่า “สิ่งที่เราทำมันแตกต่างจากความคิดเดิมๆยึดรูปแบบแต่ไม่มีกรอบในการคิด อย่างเช่นเราไม่เคยรู้เกี่ยวกับระบบเสียงดนตรีสากลเราก็เอามาใช้มันเกิดความท้าทายฟังแล้วมันแปลกหู” แม้ว่าการผสมผสานนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่นักแต่วงกอไผ่ก็มีเอกลักษณ์ดนตรีของตัวเองชัดเจน

คุณอัครพล “การผสมผสานมี 2 แบบเล่นเพลงในแบบสากล แล้วเอาดนตรีไทยเข้าไปอยู่กับมันก็กลายเป็นดนตรีไทยสากล แต่สำหรับวงกอไผ่เราเล่นเพลงไทยเดิมนำเสนอเพลงเก่าในรูปแบบใหม่ๆ ให้คนฟังโดยใช้ดนตรีสากลเข้าเล่นร่วมด้วยเรียกว่า Thai Contemporary นี่คือความเป็นกอไผ่” นอกจากออกอัลบั้มแล้ว บทเพลงของวงกอไผ่ยังถูกนำไปประกอบภาพยนต์หลายๆ เรื่องเช่นสุริโยทัย และที่สร้างชื่อที่สุดคือโหมโรง

Special Event

สมาชิกที่เหลือ คุณอมรคุณทวีศักดิ์และคุณทศพรพูดถึงความรู้สึกของสมาชิกทุกคนให้ฟังว่า สำหรับพวกเขาแล้วการที่ได้เอาดนตรีไทยทั้งแบบไทยเดิมหรือแบบผสมผสานไปเล่นให้คนฟัง แล้วผู้ฟังได้รู้ว่านี่คือดนตรีไทย รู้สึกถึงอรรถรสของมัน ไม่จำเป็นว่าผู้ฟังนั้นๆ จะต้องฟังรู้เรื่องทั้งหมด ขอแค่เพียงชอบเท่านั้น เมื่อชอบเขาจะเริ่มเข้าใจมันและหาทางเข้าถึงดนตรีไทยเอง

นี่คือสิ่งที่วงกอไผ่ทุกคนปรารถนา พวกเขาเกิดความภูมิใจที่ครั้งหนึ่งได้ทำให้คนไทยที่เคยลืมดนตรีไทยได้รู้จักว่าเรามีเครื่องดนตรีไทยเป็นของเราเอง ครั้งหนึ่งที่ทำให้คนไทยที่ฟังเพลงฮิปฮอป เพลงแจ๊ส เพลงร็อคได้กลับมาฟังเพลงไทยบ้าง และพวกเขามีความสุขที่ได้เล่น ได้บรรเลงเสียงเพลงของความไทยเหล่านี้ให้คงอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่สูญหายไปกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

สุดท้ายนี้วงกอไผ่ได้ฝากกับทุกท่านว่า สิ่งที่เราตั้งใจเล่นตั้งใจทำมันขึ้นมาก็อยากให้ฟังกันเยอะๆ โดยเฉพาะคนไทย ยังไงดนตรีไทยมันก็มีความสำคัญ มีคุณค่ามีความหมาย อย่างน้อยก็ให้คนไทยที่นี่ได้นึกถึงความเป็นไทยและนึกถึงเมืองไทย

วงบางกอกโปงลาง ดนตรีไทยพื้นบ้าน

สมาชิก
คุณชัยชนะ เต๊ะอ้วน คุณชนินทร์ ลัดดาอ่อน
คุณนุกูล ทัพดี คุณธเนศ แสวงศิลป์
คุณเอราวัณ คุณสนาน และคุณสุทัศน์ แก้วกนก

ดนตรีและนาฏศิลป์

บางกอกโปงลางเป็นวงดนตรีในสังกัดของสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว ซึ่งขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร สมาชิกในวงจึงเป็นข้าราชการทั้งหมด ตัวแทนของวงคุณสุทัศน์ แก้วกนก พูดถึงวงบางกอกโปงลางว่า “ดนตรีของเรามีหลายประเภท ทั้งดนตรีไทย ดนตรีสากลและดนตรีพื้นบ้าน

ซึ่งในครั้งนี้ี้ที่มางานไทยแลนด์แกรนด์ได้รับเชิญมาในนามของกรุงเทพมหานคร ปกติเราจะเล่นดนตรีในงานพิธีต่างๆ ของทางกรุงเทพมหานครที่จัดขึ้นอยู่แล้ว เช่นบรรเลงเพลงในสวนหรือไปเล่นตามเขตต่างๆ ตามที่เขตนั้นๆ จัดงานเป็นต้น มันก็คล้ายๆ กับกรมศิลปากรที่เป็นของส่วนราชการเหมือนกัน และมีการนักแสดงที่เอาไว้โชว์ผลงานตามที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ”

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

ทุกคนที่อยู่ในวงบอกกับทีมงานว่า การที่เราเลือกที่จะเป็นนักดนตรีนั้นอย่างแรกคือความชอบ ความรักในสิ่งนั้นจริงๆ ทุกอย่างล้วนอยู่ที่ใจ หากไม่มีก็ไม่สามารถทำได้ ที่พวกเขาเล่นอยู่นี้ก็เพราะใจรักทุกคน ได้ฝึกหัดดนตรีไทยกันมาตั้งแต่เด็กๆ และแม้ว่าถึงกำหนดต้องเกษียณ ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ออกงานพวกเขาก็จะเล่นดนตรีไทยต่อไปเรื่อยๆ เพราะดนตรีไม่มีวันตายไม่มีกำหนดอายุตราบใดที่ยังมีความสุขที่จะทำ

สมาชิกทิ้งท้ายฝากกับผู้ชมว่า “ผมภูมิใจและดีใจครับที่ได้เอาดนตรีไทยมาเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้เห็นกัน ยิ่งได้มาเจอคนไทยที่นี่ด้วย ยิ่งดีใจที่เราเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ความเป็นไทยของเราไว้ จึงอยากฝากกับผู้ชม ผู้ฟังเป็นเสียงของดนตรี ให้เขาได้ฟังด้วยความอิ่มเอิบ ซาบซึ้งในความเป็นไทยครับ ได้คิดถึงเมืองไทยและกลับไปเยี่ยมบ้านกันบ้าง และกับชาวซิดนีย์อยากให้เขาได้ฟังดนตรีไทยได้เห็นความเป็นไทยแล้วไปเที่ยวเมืองไทยกันเยอะๆ ครับ”

” เมื่อดูการแสดงเราแล้วสำหรับคนไทยอยากให้อนุรักษ์ศิลปะเราไว้ ส่วนชาวต่างชาติครูก็อยากให้เขาได้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ได้กระตุ้นให้เขาได้ชื่นชอบคนไทย ชอบเมืองไทยอยากให้เขาไปเห็นความงดงามของบ้านเราและรอยยิ้มของคนไทยจริงๆ”

ChaYen

ทีมนาฏศิลป์กรมศิลปากร นาฏศิลป์ไทยแท้

ครูหวาน ศิริพงษ์ ฉิมพาลี ศิลปินอาวุโส

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

ซึ่งพาทีมนักแสดงไปเผยแพร่ความเป็นไทยในนามของหน่วยงานราชการมาหลายประเทศทั่วโลกแล้ว “ตอนนี้ครูยังสอนอยู่ที่กรมศิลปากรครับเคยจัดการแสดงให้กับหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน ทีมนักแสดงทุกคนจบจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั้งหมด เรียนรำเป็นพื้นฐานมาตั้งแต่เด็กๆ

ฉะนั้นจะจัดให้รำอะไรต้องรำได้ทำได้ทั้งหมด จากประสบการณ์ที่ไปมาหลายประเทศ ชาวต่างชาติเขาให้ความสนใจและตอบรับวัฒนธรรมเราได้ดีมากนะ ถือว่าประสบความสำเร็จที่เราได้เผยแพร่วัฒนธรรมเราให้ทั่วถึง โดยเฉพาะนาฏศิลป์ในแบบที่เป็นของแท้และดั้งเดิม ซึ่งมันเป็นเอกลักษณ์ของไทยเลย บางชาติเขาไม่เคยได้เห็นไม่เคยรู้จักประเทศไทยเลย พอได้ดูการแสดงเขาก็ได้รู้จักประเทศเรา รู้จักวัฒนธรรมเรามากขึ้น พึงพอใจในตรงนี้มากครับ”

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

สุดท้ายนี้ก็เลยอยากฝากกับคนดูว่า “เมื่อดูการแสดงเราแล้วสำหรับคนไทยอยากให้อนุรักษ์ศิลปะเราไว้ ส่วนชาวต่างชาติครูก็อยากให้เขาได้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ได้กระตุ้นให้เขาได้ชื่นชอบคนไทย ชอบเมืองไทยอยากให้เขาไปเห็นความงดงามของบ้านเราและรอยยิ้มของคนไทยจริงๆ”

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย สำหรับชาวไทยในซิดนีย์ แค่เพียงได้ยินเสียงแว่วของดนตรีไทยหรือเห็นเครื่องแต่งกายนางรำ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิดความอิ่มเอิบในจิตใจ ชวนให้คิดถึงบ้านเกิดเพราะลึกๆ ในใจพวกเขาไม่เคยลืมว่าบ้านเกิดที่อบอุ่นที่สุดอยู่ที่เมืองไทย และสำหรับชาวต่างชาติ ทางศิลปินทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการที่พวกเขาข้ามน้ำข้ามทะเลมาก็เพื่อที่จะเผยแพร่เอกลักษณ์ศิลปะไทยให้เป็นที่รู้จักและเป็นส่วนหนึ่งที่เชิญชวนให้ชาวออสเตรเลียไปท่องเที่ยวเมืองไทย และสัมผัสความเป็นไทยด้วยสายตาตัวเอง

Related Articles