Home Editor's Picks นักวิจัยโรคมะเร็ง ความหวังที่ใกล้เป็นจริง กับ ดร. ต่อศักดิ์

นักวิจัยโรคมะเร็ง ความหวังที่ใกล้เป็นจริง กับ ดร. ต่อศักดิ์

by ChaYen
Dr. Tor Talk 22

นักวิจัยโรคมะเร็ง ความหวังที่ใกล้เป็นจริ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตจากโรคภัยและความเจ็บป่วยมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการคิดค้นทั้งสาเหตุของโรค ยารักษา วัคซีนรวมถึงวิธีป้องกันต่างๆ ที่ทำให้มนุษยชาติยังคงดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้

และเบื้องหลังความสำเร็จนั้น คือนักการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยผู้ซึ่งคิดค้นคว้าสิ่งเหล่านี้ ฉบับนี้วีอาร์ไทยจึงได้สัมภาษณ์นักวิจัยทางการแพทย์ท่านหนึ่ง ที่ได้สร้างผลงานการวิจัยอันมีประโยชน์ไว้มากมาย  ดร.ต่อศักดิ์ มหาวรศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Stephen Sanig Research Institute นักวิจัยโรคมะเร็ง กับความหวังที่ใกล้เป็นจริง

Dr Tor

กว่าจะมาถึงความสำเร็จตรงนี้

ตอนเด็กๆ ผมเรียนรั้งท้ายห้องเป็นประจำ เมื่อขึ้นป.5 ก็รู้สึกว่าไม่อยากได้ที่ท้ายๆ แล้ว เลยกลายเป็นจุดเปลี่ยน หลังจากนั้นก็เริ่มขยันเรียน เป็นผลให้การเรียนดีขึ้นตามลำดับ พออยู่มศ.3 ก็ได้อาจารย์สอนฟิสิกส์ที่ดี เลยเป็นสิ่งที่ทำให้ผมชอบวิชาฟิสิกส์ และมีความคิดอยากจะไปเรียนต่อทางด้านฟิสิกส์ที่อังกฤษ

แต่ช่วงนั้นคุณพ่อป่วยกระทันหัน จึงต้องล้มเลิกความคิดนั้นไป และด้วยความรู้สึกผิดหวังจึงทำให้ไม่อยากเรียน แต่ท้ายที่สุดก็มาศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พญาไท ระหว่างที่อยู่โรงเรียนก็ได้เห็นทั้งเด็กที่เรียนและเด็กเกเร ตอนนั้นความรู้สึกผิดหวังยังอยู่ในใจแต่ก็มาคิดได้ว่าเราควรจะเป็นเด็กดีเพราะไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ผิดหวัง ก็เลยตั้งใจเรียนจนจบและสอบเข้าได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ เอกฟิสิกส์ที่จุฬาฯ

Dr. Tor นักวิจัยโรคมะเร็ง

หลังจากจบก็เริ่มสนใจงานวิจัยทางด้านมะเร็ง  ผมรู้ว่าเอาฟิสิกส์มาใช้ทางด้านการแพทย์ได้ จึงไปศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เรียนได้ไม่นานก็เปลี่ยนใจเนื่องจากไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้จึงตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศออสเตรเลีย ในขณะที่เรียนปริญญาโทอยู่นั้น ผมได้รับทุนจากโรงพยาบาล Prince of Wales ซึ่งสังกัดอยู่ใน UNSW เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเซลเม็ดเลือดแดงภายใต้อิทธิพลของกระแสไฟฟ้า

Dr. Tor นักวิจัยโรคมะเร็ง

ภายหลังจากที่ผมจบปริญญาโทที่ UNSW ผมก็ได้รับทุนการศึกษาเพื่อต่อในระดับปริญญาเอก สาขาไบโอฟิสิกส์ ที่ UNSW ระหว่างที่ศึกษาปริญญาเอกนี้ ผมได้ค้นพบวิธีการผสมเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า B Cell เข้ากับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ ผลที่ได้คือ เซลล์ผสมที่เรียกว่า Hybrid Cell ซึ่งมีประโยชน์ในการผลิต Antibody (สารภูมิคุ้มกัน) ภายนอกร่างกายของคนด้วยปริมาณไม่จำกัด

ผลงานวิจัยนี้ทำให้ผมได้รับปริญญาเอกในเวลาต่อมา ซึ่งทันทีที่ผมจบปริญญาเอกผมได้รับทุนวิจัย Post Doctoral Fellowship เพื่อวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Antibody ภายนอกร่างกายโดยใช้เซลล์ผสมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

Dr. Tor นักวิจัยโรคมะเร็ง

ผลงานและสิ่งที่ภูมิใจ

นอกจากผลงานต่างๆ ที่ผมค้นคว้าและได้สร้างประโยชน์แล้ว สิ่งที่ภูมิใจคือ ตอน ที่จบปริญญาเอกสมัยนั้นเราเป็นแค่เด็กหนุ่มคนไทยจบใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ด้วยผลงานทางแล็ปที่ผมมีทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคณะบดีและรองอธิการบดี ซึ่งท่านเหล่านี้ได้นำผู้ศึกษาดูงานทั่วโลกมาดูผลงานที่แล็ปของผม และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

สิ่งที่ภูมิใจอีกอย่างคือ ผมได้เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ให้วิทยาทานแก่คนอื่น แก่เยาวชน ครั้งแรกตอนจบปริญญาเอก แล้วทางมหาวิทยาลัยให้ทุนวิจัยทำ Post Doctoral Fellowship 3 ปี ซึ่งเป็นการสร้างทักษะให้กับตัวเองในอนาคตข้างหน้า เหมือนจ้างผมเป็นอาจารย์ หลังจากจบแล้วก็สามารถที่จะเป็นอาจารย์ก็ได้ และอีกหลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรบรรยายให้กับ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้ให้อะไรกลับสู่สังคมบ้าง

Antibody

สิ่งที่กำลังวิจัย

ตอนที่ผมกำลังศึกษาวิจัยเรื่องการผลิตแอนติบอดี้ภายนอกร่างกายด้วยปริมาณไม่จำกัดเพื่อต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ อาทิ แบคทีเรีย ไวรัส และเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางประเภท Antibody ที่ผลิตขึ้นนี้ ผลิตจากเซลล์ผสม (Hybrid Cell) ระหว่างเซลล์เม็ดเลือดขาว (B Cell) และเซลล์มะเร็งของมนุษย์

การผสมเซลล์โดยวิธีการของทางสถาบันวิจัยของผมนี้จะเป็นการผสมเซลล์แบบตัวต่อตัว กล่าวคือ B Cell 1 ตัว ผสมกับเซลล์มะเร็ง 1 ตัว พูดง่ายๆ ก็คือ โดยปกติ B Cell จะผลิต Antibody ด้วยปริมาณที่จำกัดเมื่ออยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ เมื่อ B Cell อยู่นอกร่างกายจะมีอายุสั้นและจะผลิต Antibody ได้น้อยลงมาก ผิดกับเซลล์มะเร็งซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถแบ่งตัวภายนอกร่างกายได้

นักวิจัยโรคมะเร็ง

กล่าวคือ เราสามารถเลี้ยงเซลล์มะเร็งในห้องแล็ปได้ เมื่อเราผสมบีเซลล์ 1 ตัวเข้ากับ เซลล์มะเร็ง 1 ตัว เราจะได้เซลล์ผสม ซึ่งมีคุณสมบัติที่เลี้ยงในห้องแล็ปได้ และในขณะเดียวกัน ผลิต Antibody ในห้องแล็ปได้ด้วยปริมาณไม่จำกัด เมื่อเราสามารถผลิต Antibody ได้มากมายภายนอกร่างกายได้ ก็เท่ากับว่าเรามีโอกาสอย่างมากที่จะผลิตเป็นยารักษาโรคติดเชื้อต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็งได้อย่างมากมาย

Stephen Sanig Research Institute

สถาบัน  Stephen Sanig Research Institute เกิดขึ้นได้อย่างไร

สถาบันนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังจากที่ผมทำแล็ปอยู่ในมหาวิทยาลัย UNSW ซึ่งตอนนั้นทางเรามีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น ต้องขยับขยายสร้างห้องแล็ปใหม่และใช้งบประมาณสูงรวมถึงบุคคลากรด้วย ในขณะนั้นทางมหาวิทยาลัยก็อยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย ผมจึงย้ายออกมาสร้างห้องแล็ปขึ้นใหม่ภายนอกมหาวิทยาลัย ในปี 2548 บังเอิญผมได้มีโอกาสปรึกษากับนัการเมืองและรัฐมนตรีบางท่านจาก State Government และ Federal Goverenment ซึ่งในตอนนั้นทางเราก็มีแคมเปญที่จะให้รัฐบาลอนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ดร.ต่อศักดิ์ มหาวรศิลป์

Meningococcal Septicemia (โรคเลือดเป็นพิษ) ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียบางประเภทให้แก่เด็กทารถจนถึงเด็กวัยสามขวบฟรี เมื่อได้ปรึกษากับนักการเมืองเหล่านี้ เขาก็แนะนำให้ไปคุยกับ Mr. Michael Sanigและ Mrs. Sue-Anne Sanig ซึ่งลูกชายของเขาเด็กชาย Stephen Sanig เพิ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียตอน 7 ขวบและเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งสองคนเสียใจมากและก็กำลังแคมเปญในเรื่องนี้อยู่

ดร.ต่อศักดิ์ มหาวรศิลป์

ผลจากการพูดคุยกับทั้งสองท่านคือ เขาจะหาเงินสปอนเซอร์มาสนับสนุนโครงการของสถาบันวิจัยเราบางส่วน โดยเขาตั้งกองทุนบริจาครวบรวมไว้ให้ แต่เขาขอเสนอว่าถ้าผมตั้งสถาบันวิจัยใหม่ขึ้นมาขอให้ตั้งชื่อสถาบันเป็นชื่อลูกชายของเขาได้ไหม ผมก็เห็นดีด้วย ตอนแรกก็ลำบากพอสมควรเพราะเราต้องการการสนับสนุนทางการเงินอย่างมาก บางคนเขามองไม่เห็นคุณค่าสิ่งที่เราทำ มองแต่ผลกำไร ผลประโยชน์ เขาก็ไม่สนับสนุน แต่ก็ผ่านมาได้เพราะยังมีคนที่เห็นคุณค่าอยู่จนมี สถาบัน Stephen Sanig Research Institute จนทุกวันนี้

<span class=”s1″>“เมื่อเราตายไป เงินทองเราเอาไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทิ้งไว้ได้คือความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต””</span>

ChaYen

นักวิจัยโรคมะเร็ง

ความคาดหวังในอนาคต

ดร. ต่อ อยากให้สถาบันนี้เป็นสถาบันที่ติดอันดับโลก ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และบุคคลากรด้วย เพราะนอกจากสถาบัน เราก็อยากพัฒนาบุคคลากรด้วย อาจจะมีโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนบุคคลากรซึ่งกันและกัน และที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่เราวิจัยนี้จะอยู่เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้

ดร.ต่อศักดิ์ มหาวรศิลป์

ฝากถึงคนที่อยากจะมาเรียนทางด้านนี้

หากคุณคิดจะมาเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์นี้ คุณไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนทางการเงินเป็นหลัก ในทางกลับกัน คุณควรที่จะนึกถึงประโยชน์ที่คุณจะให้กับสังคม โดยเฉพาะการช่วยให้บุคคลทั่วไปมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม

แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานหลายร้อยปี แต่เรายังคงคุ้นชื่อของ อริสโตเติ้ล,อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์,กาลิเลโอ และนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่าน ไม่ใช่เพราะพวกเขาเหล่านี้มีอำนาจล้นฟ้าหรือว่าร่ำรวยมหาศาล แต่เราสรรเสริญและจดจำชื่อท่านเหล่านั้นไว้ด้วยความเคารพในอุดมการณ์ อดทนและเสียสละในการค้นคว้าสิ่งที่ยังประโยชน์มหาศาลสู่มวลมนุษยชาตินั่นเอง

Related Articles

Leave a Comment