เราจะพาไปรู้จักกับ ประธานนักเรียนไทย ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (USYD) มหาวิทยาลัยยูทีเอส (UTS) และมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ (UNSW)
ซึ่งทั้งสามท่านนี้นอกจากจะเป็นตัวแทนของคนไทยที่จะช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศแล้ว พวกเขาเหล่านี้จะเป็นตัวแทนในฐานะของ ประธานนักเรียนไทย ระดับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในซิดนีย์ นำทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับนักศึกษาจากเมืองอื่นหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่างานกีฬาสมานมิตร ที่ปีนี้มหาวิทยาลัย Wollongong จะเป็นเจ้าภาพนั่นเอง
ถ้าจะพูดถึงการศึกษาในต่างแดนแล้ว ออสเตรเลียเป็นประเทศที่คนไทยจะส่งลูกส่งหลานมาร่ำเรียนกันเป็นอันดับต้นๆ เหตุเพราะประเทศนี้มีระบบการศึกษาที่ดี ค่าเล่าเรียนไม่แพงมากจนเกินไป รวมทั้งมีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเรียนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักเรียนต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกหลั่งไหลเข้ามาศึกษาหาความรู้กันที่นี่เป็นจำนวนมาก สำหรับคนไทยเรานั้นได้เข้ามาศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลียกันไม่ต่ำกว่า 40 ปีแล้ว และด้วยจำนวนนักเรียนไทยที่มีมากพอสมควรในสมัยนั้น จึงทำให้เกิดการก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยขึ้น และได้มี ประธานนักเรียนไทย จนกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงในปัจจุบัน
แนะนำตัวเองหน่อยครับ แล้วมาเป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยได้อย่างไร
เป๊ะ: นัทลี สุนทรวิเนตร์ ชื่อเล่นชื่อเป๊ะ

ตอนนี้เรียนปริญญาตรีด้าน Fine Art อยู่ค่ะ เป็นประธานนักเรียนไทยของมหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลล์ค่ะ (TSS) เข้ามาเป็นประธานสมาคมนักเรียนเพราะพอดีมีรุ่นพี่ที่เขาเป็นประธานคนก่อน เขากำลังมองหาคนมาสานงานต่อแล้วไม่มีคนทำ พอไม่มีคนทำชมรม มันก็เลยขาดช่วงไปประมาณปีกว่า พอพี่เขามาติดต่อให้ไปทำ เราก็เลยอาสาเข้ามาทำตรงนี้ ตอนนี้มีสมาชิกอยู่ 60 คน แต่ที่เข้าร่วมกิจกรรมกันจริงๆ มีประมาณ 30 คนได้ค่ะ Thai Student Society (TSS) เมื่อก่อนเป็นชื่อ Thai Student Association (TSA) แต่ไม่มีไปหลายปี พอมาก่อตั้งใหม่ชื่อก็ไปซ้ำกับสมาคมของนักเรียนไต้หวัน ก็เลยเปลี่ยนมาเป็น TSS แทน ซึ่งก่อตั้งได้เกือบปีแล้วค่ะ
ปู: ชื่อปูค่ะ ชื่อจริง ปิยะธิดา อานันโทไทย

เรียนปริญญาตรีปี 2 ด้านการเงินและการตลาด เป็นประธานนักเรียนไทยของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ค่ะ (SU THAI) เหตุผลที่มาเป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยที่ USYD เพราะตอนที่ปูเข้ามาตอนแรกก็นึกว่าจะมีสมาคมนักเรียนไทยอยู่แล้ว แต่พอมาถึงกลับไม่มีสมาคมหรือชมรมที่เป็นกลุ่มของคนไทยเลย ก็เลยมีความคิดว่าไม่อยากให้นักเรียนรุ่นต่อไปที่มาทีหลังรู้สึกเหมือนที่เรารู้สึก ก็เลยก่อตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่ เมื่อก่อนมันเคยมีแต่หลังจากที่รุ่นพี่ๆ เขาจบกันไปหมดแล้วก็ไม่มีคนสานต่อ มันก็เลยมีช่วงเวลาที่ว่างไป สมาคมนักเรียนไทยที่ USYD เริ่มต้นจริงๆ เมื่อต้นปีนี้ได้ค่ะ สมาชิกที่นี่มีประมาณ 100 กว่าคน 30 คนเป็นคนไทย ที่เหลือเป็นคนชาติอื่น ที่สมาคมมีสมาชิกมากก็เพราะว่าเราขายบัตรสมาชิกที่สามารถเอาไปเป็นส่วนลดร้านอาหารไทยที่นิวทาวน์และในเมืองได้ โดยบัตรสมาชิกขายในราคา 5 เหรียญต่อปี
แองเจลิก้า: ชื่อ แองเจลิก้า คาซาโด้

เรียนปริญาญาตรีด้านกฏหมายและการสื่อสารค่ะ เป็นประธานนักเรียนไทยของมหาวิทยาลัยยูทีเอสค่ะ (UTS2) ที่เข้ามาเป็นก็เพราะมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาเป็นห่วงนักเรียนเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่แบ่งกลุ่มคนออกเป็นสองกลุ่ม อาจารย์เขาก็เลยอยากให้นักเรียนไทยที่นี่รวมตัวกัน จึงทำให้นักเรียนไทยเริ่มรวมกลุ่มกันแต่ยังไม่มีประธานสมาคม พอดีมีพี่คนหนึ่งมาคุยกับเราว่าจะก่อตั้งสมาคม ก็เลยมาชวนให้เป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยที่นี่ ซึ่งเราเป็นคนชอบทำกิจกรรมอยู่แล้ว ในที่สุดสมาคมนักเรียนที่ UTS จึงได้จัดตั้งขึ้นในปีที่แล้วเป็นครั้งแรก ตอนนี้มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 60 คนแล้วค่ะ
สนิทกันได้ยังไง
เป๊ะ : มาในเวลาเดียวกันแล้วมาทำงานด้วยกัน เลยรู้จักกัน พอทำงานด้วยกันก็เลยสนิทกันมากขึ้นค่ะ ปูกับเป๊ะรู้จักกันผ่านเพื่อน เป๊ะกับแองเจลิก้ารู้จักกันเพราะสมัยก่อน UNSW ไม่มีสมาคม พอ UTS มีงานก็มาช่วยงาน ซึ่งช่วงนั้นมีปัญหาน้ำท่วมที่เมืองไทยก็เลยช่วยกันทำกิจกรรม Flood Relief ขึ้นมา จึงเป็นช่วงที่ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยมาช่วยกันทำงาน ก็เลยสนิทกันตั้งแต่ตอนนั้น

สมาคมรับสมัครสมาชิกอย่างไร
แองเจลิก้า: ที่ UTS จะมีวัน O’ Day ในช่วงเปิดเทอมที่จะเป็นวันที่ให้นักเรียนใหม่ได้เลือกชมรม วันนั้นก็จะเป็นวันที่โปรโมทชมรมของเรา วันนั้นรุ่นพี่ที่อยู่ในชมรมอยู่แล้วก็จะมาช่วยกันหาสมาชิกใหม่ หลังจากนั้นก็จะมี Welcome Party ให้สมาชิกใหม่ได้รู้จักสมาชิกเก่า ได้รู้จักคนที่ทำงานในสมาคม ปีนี้เราเริ่มงานใหญ่ด้วยการจัดงานสงกรานต์ มีกิจกรรมและการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย มีดนตรีไทย รำไทย และอาหารไทย ให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น โดยมีผู้ใหญ่จากสังคมไทย ท่านกงสุลใหญ่พีรวิชและภริยาก็มาร่วมงานกับอาจารย์ของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นสมาคมก็จะมีการจองสนามกีฬาไว้ให้สมาชิกได้เล่นคลายเครียด อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ปู: O’ Week เป็นช่วงเวลา 3 วันที่ชมรมหรือสมาคมของมหาวิทยาลัยได้มาจัดซุ้มเพื่อโปรโมทชมรมของนักเรียนทั้งใหม่เเละเก่าหลังจาก O’ Week จบไปประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทางสมาคมก็จะจัด Dinner Party โดยมุ่งเน้นที่ให้เด็กเก่ากับเด็กใหม่ได้รู้จักกัน ได้มาคุยกัน ได้กินข้าวด้วยกัน แล้ววันนั้นก็จะมี Bonding Games ให้เล่นด้วยค่ะ
เป๊ะ: ที่ UNSW จะเป็น O’ Week ที่ช่วงนั้นจะรับสมัครสมาชิกใหม่และจะหาเงินเข้าสมาคม ช่วงนั้นเด็กนักเรียนที่มาใหม่ก็จะได้รู้ว่าในมหาวิทยาลัยมีคลับหรือชมรมอะไรให้เลือกบ้าง โดยวันนั้นก็จะเอาผัดไทยมาขาย และมีการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในมหาวิทยาลัย ส่วนงานที่เราสามมหาวิทยาลัยได้เจอกันก็เคยจัดบาร์บีคิวโดยที่ UTS เป็นเจ้าของสถานที่ และอีกสองมหาวิทยาลัยก็จะหาของกินไป ใจจริงอยากจะจัดบ่อยแต่ติดปัญหาที่สอบไม่ตรงกัน ปิดเทอมไม่ตรงกัน
บทบาทของกลุ่มนักเรียนไทยกับทางมหาวิทยาลัยเรามีมากน้อยแค่ไหน
เป๊ะ : ถ้าทางมหาวิทยาลัยมีงาน อย่างเช่นเขางาน Arts Week หรือ งาน Asian Food Festival เขาก็จะเข้ามาถามเราให้เข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ถ้าเรามีการแสดงหรือจะออกร้านขายของก็สามารถเข้าร่วมได้ ทางมหาวิทยาลัยเขารณรงค์เรื่องศิลปะวัฒนธรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลายหลายทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว
แองเจลิก้า: ส่วนยูเนียนของทางมหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับทุกสมาคมเท่ากันหมด แต่อยู่ที่ว่าใครจะทำกิจกรรมบ่อยกว่ากัน ซึ่งเขาก็จะมีคนมาสัมภาษณ์และถ่ายรูป แล้วเอาเรื่องของสมาคมไปลงในนิตยสารของทางมหาวิทยาลัยค่ะ
ปู: จะเป็นงาน International Party หรือ Boat Party ที่ให้นักเรียนทั้งมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วม และมาเจอกัน

มีการประชุมร่วมกับกลุ่มอื่นๆ บ้างมั้ย
เป๊ะ : ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ยูเนียนคือคนที่ดูแลชมรมทั้งหมด เขาจะดูแลสวัสดิการของนักเรียนทุกอย่าง ฉะนั้นเขาจะเป็นจัดประชุม ซึ่งก็ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ก็จะมีประธานของแต่ละชมรมมาประชุมกันประมาณ 15 นาที และจะมีอัพเดทข้อมูลต่างๆ ของยูเนียน ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง หลังจากนั้นแต่ละชมรมก็จะได้โปรโมทกิจกรรมของตัวเองว่าแต่ละสัปดาห์จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ส่วนการขอสถานที่ในมหาวิทยาลัย การขอยืมอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าเราจะมีงานหรือจะโปรโมทอะไรก็ตาม ก็จะต้องแจ้งกับทางยูเนียนทราบ เขาก็จะส่งอีเมล์อัพเดทข้อมูลมาให้แต่ละชมรมได้รู้
ทางมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือดีมั้ยตอนที่เราขอกิจกรรมของทางสมาคม
เป๊ะ : ต้องขอถึงจะได้ เขาจะให้ได้ในระดับหนึ่งตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ ซึ่งเราก็จะต้องทำตาม อย่างทำเสื้อ เราก็ต้องเอาไปให้เขาดูก่อนว่า ชื่อมหาวิทยาลัยสะกดถูกหรือเปล่า ใช้คำเหมาะสมมั้ย มันต้องมีขั้นตอนและเอกสารมากพอสมควร
แอลเจลิก้า: ทางยูเนียน เขาจะให้การสนับสนุนทุกอย่างค่ะ ทั้งเรื่องเงินและเรื่องสถานที่ แต่เขาจะพิจารณาจากเอกสารที่เรายื่นไปว่าทำกิจกรรมอะไร แล้วจะเอาเงินไปใช้ที่ไหนอย่างไร ส่วนการขอใช้สถานที่ทางยูเนียน จะมีเว็บไซต์ให้เราเข้าไปจองได้ค่ะ
ปู: ถ้าจะทำเสื้อขายเขาก็จะให้ 5 เหรียญต่อตัวที่เหลือต้องออกเอง พอเอามาขายรายได้ที่เหลือก็เอาเข้าชมรม สมาคมนักเรียนไทยที่นี่ก่อตั้งจากที่ไม่มีเงินเลย จนตอนนี้ได้พันกว่าเหรียญแล้ว ซึ่งรายได้ทั้งหมดก็มาจากการขายเสื้อแล้วก็บัตรสมาชิกนี่แหละค่ะ
“ส่วนงานที่ทั้งสามมหาวิทยาลัยร่วมกันทำก็คืองานแข่งกีฬาสมานมิตร ที่ปีนี้มหาวิทยาลัย Wollongong เป็นเจ้าภาพ งานนี้เป็นงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยที่เราจัดร่วมกัน มหาวิทยาลัยในซิดนีย์ก็จะมารวมตัวกัน เป็นทีมจากซิดนีย์ทีมเดียว นอกจากนี้จะมีทีมจาก อะดิเลด บริสเบน นิวคาสเซิล และเมลเบิร์นเข้าร่วมแข่งขัน”

วางแผนจะทำอะไรบ้างในช่วงเทอมแรกนี้
แองเจลิก้า: ก็มีสงกรานต์เป็นงานใหญ่งานแรกค่ะ ส่วนงานที่ทั้งสามมหาวิทยาลัยร่วมกันทำก็คืองานแข่งกีฬาสมานมิตร ที่ปีนี้มหาวิทยาลัย Wollongong เป็นเจ้าภาพ งานนี้เป็นงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยที่เราจัดร่วมกัน มหาวิทยาลัยในซิดนีย์ก็จะมารวมตัวกัน เป็นทีมจากซิดนีย์ทีมเดียว นอกจากนี้จะมีทีมจาก อะดิเลด บริสเบน นิวคาสเซิล และเมลเบิร์นเข้าร่วมแข่งขัน
ปู: ก่อนไปแข่งเราจะมี Pre-Interstate ก่อนคือการคัดตัวนักกีฬาที่จะเป็นตัวแทนของเมืองซิดนีย์ โดยที่เราจะยึดธรรมเนียมที่ยึดถือมา 40 ปี ว่านักกีฬาที่ไปแข่งจะต้องเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย แต่บางปีนักกีฬาไม่พอก็อาจจะหารุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วมาแข่งด้วย ส่วนของสมาคมที่ปูทำอยู่
เท่าที่จัดไปก็มี Dinner Party ในช่วงปิดเทอม ก็มีไป Port Stephen ช่วงสงกรานต์ไปอยู่แคมป์ อยู่บ้านเช่า 2 คืน มีรับน้อง เล่นเกมส์กัน ทำกิจกรรมบายสี รุ่นพี่ได้คุยกับรุ่นน้องเป็นอะไรที่ดีมาก ช่วงต้นเทอม 2 ก็น่าจะไปสโนว์ทริปนะ อาจจะเช่าบ้านแล้วไปกัน ต่อมาเป็น Pre Interstate แล้วก็ Interstate พอหลังจากนั้นก็เป็นช่วงสอบของทางมหาวิทยาลัยแล้วค่ะ แล้วปลายปีก็คิดว่าจะหาเงินประมาณ 300 เหรียญ แล้วเอากลับไปซื้อของที่เมืองไทย แล้วนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากค่ะ ที่นั่นอยู่กลางหุบเขาไม่ค่อยได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่ควร นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาที่มีฐานะยากจน ก็เลยจะนำของไปบริจาคกันค่ะ
เป๊ะ: เนื่องจากชมรมยังมีคนน้อยอยู่ก็เลยยังไม่จัดอะไรมากมาย ที่จะมีก็จะขายผัดไทยเอาเงินเข้าชมรม ไปบาร์บีคิว แล้วที่ผ่านมาก็ไปเล่นโบว์ลิ่งกันมา

การโปรโมทกิจกรรมแต่ละครั้งทำยังไง ทางไหนกันบ้าง
ปู: การโปรโมทงานแต่ละครั้งจะใช้การพิมพ์โปสเตอร์ขนาด A3 แปะรอบมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ก็จะส่งอีเมล์ เฟสบุ๊ค แล้วก็จะมีการบอกกันปากต่อปาก โดยเฉพาะการโพสข้อความลงในเวปไซต์ของยูเนียนซึ่งจะเป็นการกระจายข่าวสารให้กับทุกคนในมหาวิทยาลัยได้รู้
เป๊ะ : จะเอาชอล์กเขียนบนพื้นปูนตามทางเดินของมหาวิทยาลัยเพื่อประชาสัมพันธ์ว่า ทางสมาคมของเรามีข่าวประชาสัมพันธ์อะไร หรือมีงานอะไร ก็จะเขียนไปตามพื้นรอบๆ มหาวิทยาลัย อันนี้ประหยัดเงินมาก แล้วอีกทางหนึ่งก็คือเฟสบุ๊คที่ให้ผลตอบรับเร็วมาก
แองเจลิก้า: ทางเฟสบุ๊กที่มี 2 แบบค่ะคือ สำหรับสมาชิกและแบบแฟนเพจ แล้วก็ให้สมาชิกช่วยกันโปรโมทงานโดยไปบอกเพื่อนๆ ต่ออีกที ส่วนการแปะโปสเตอร์ก็มีบ้างแต่ต้องเป็นงานใหญ่ๆ อย่างงานสงกรานต์ที่ผ่านมา
ส่วนงานที่ทั้งสามมหาวิทยาลัยร่วมกันทำก็คืองานแข่งกีฬาสมานมิตร ที่ปีนี้มหาวิทยาลัย Wollongong เป็นเจ้าภาพ งานนี้เป็นงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยที่เราจัดร่วมกัน มหาวิทยาลัยในซิดนีย์ก็จะมารวมตัวกัน เป็นทีมจากซิดนีย์ทีมเดียว นอกจากนี้จะมีทีมจาก อะดิเลด บริสเบน นิวคาสเซิล และเมลเบิร์นเข้าร่วมแข่งขัน

ก่อนมาทำงานกับทางสมาคม เคยคิดมั้ยว่าจะเหนื่อยขนาดนี้
เป๊ะ: ไม่คิดค่ะ ตอนแรกก็คิดว่าแค่โทรตามคน 2-3 คน ตั้งทีมกันนิดหน่อย แต่พอจริงๆ แล้วคนละเรื่องเลย ถึงแม้เราจะเตรียมงานกันแล้ว อย่างแค่ไปเจอกันที่ Fish Market ยังต้องโปรโมท ต้องนัด ต้องจองกันพอสมควรเลย ความยากมันอยู่ตรงที่สมาคมมันเคยมีมาก่อนแล้ว แต่มันมีช่วงที่หายไปนาน พอมาทำใหม่ทุกอย่างก็เลยต้องเริ่มต้นใหม่หมด ทีมงานใหม่หมด ก็ต้องมาช่วยกันคิดว่าต้องทำอะไรบ้าง
แองเจลิก้า: คือคิดไว้ตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่าน่าจะเหนื่อยนะ แต่อยากทำค่ะ เพราะอยากได้ประสบการณ์หลายด้าน ได้ความรู้หลายอย่าง ทั้งการบริหารเงิน การวางแผนการจัดงาน การโปรโมทงาน การตลาด ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้สาม
ปู: ชอบทำกิจกรรมอะไรอย่างนี้อยู่แล้วค่ะ ที่ตั้งขึ้นมาก็อยากทำให้มันที่ที่ให้คนมาสนุกกัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ไปเที่ยวด้วยกัน อย่างน้อยให้เขามาร่วมกลุ่มกันแล้วมีอะไรทำมันก็ดีค่ะ
เป๊ะ: ถ้าเรามีจิตใจอยากจะทำ ถ้าเราทำได้ทำไมเราถึงจะไม่ทำ ทั้งๆ ที่มีโอกาสแล้ว มันก็สานต่อ อะไรแบบนี้ไป พอทำแล้วมันชื่นใจ อย่างมีน้องคนหนึ่งที่มาเรียน Foundation ใหม่ แล้วไม่รู้จักใครเลย ทางเราก็แนะนำ กลุ่มคนไทยให้เขารู้จัก จนเขามีเพื่อนสนิทช่วยปรึกษาปัญหาพูดคุย ซึ่งก็ทำให้เขาอยู่และเรียนที่นี่อย่างมีความสุข ส่วนตัวของเราเอง เราก็ได้เรียนรู้การเป็นผู้นำ การบริหารคน รู้จักว่าจะต้องคุยกับผู้ใหญ่อย่างไร ขณะเดียวกันเราก็ต้องฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
รถนำไปใช้ในอนาคตได้ค่ะเป็น
คือเป้าหมายหลักอยากให้คนไทยที่มาเรียนที่นี่ได้เจอกันได้รู้จักกันอยู่แล้ว พอกลับเมืองไทยก็อาจช่วยกันได้ ไปทำงานมันก็เป็นประโยชน์ต่อกัน

แบ่งเวลาทำกิจกรรมกับการเรียนอย่างไร
ปู: อย่างตอนนั้นมีรายงานต้องส่งอาทิตย์หน้าและจะมีขายผัดไทยเอาเงินไปช่วยองค์กรที่เมืองไทยก็ต้องแพลนให้ดีว่าจะต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง
เป๊ะ: เวลาจัดงานหรือกิจกรรมในแต่ละครั้งจะต้องดูว่ามันอยู่ในช่วงสอบหรือช่วงส่งรายงานมั้ย ก็พยายามไม่จัดเวลานั้น เพราะว่ามันยาก
แองเจลิก้า: ช่วงเวลาจะสอบหรือมีรายงานก็ต้องหยุดกิจกรรมทุกอย่างแล้วมามุ่งเรื่องเรียนอย่างเดียว พอช่วงอื่นถ้าเป็นกิจกรรมใหญ่ก็ต้องวางแผนล่วงหน้าไว้เนิ่นๆ ค่ะ จะได้ไม่มีปัญหาทั้งเรื่องกิจกรรมและเรื่องเรียน
ถ้ามีกลุ่มจากมหาวิทยาลัยอื่นอยากมาร่วมด้วย
เป๊ะ: ยินดีมากเลยค่ะ คือเป้าหมายหลักอยากให้คนไทยที่มาเรียนที่นี่ได้เจอกันได้รู้จักกันอยู่แล้ว พอกลับเมืองไทยก็อาจช่วยกันได้ ไปทำงานมันก็เป็นประโยชน์ต่อกัน นอกจากนี้ก็ได้ไปเที่ยวด้วยกัน มารู้จักกัน มีคอนเน็กชั่นในอนาคต อย่างที่เมืองไทยเขาก็จะมีคนจบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เขาก็จะชวนๆ กันให้เข้าไปทำงานด้วยกัน
อยากฝากอะไรถึงคนไทยหรือนักเรียนไทยที่นี่บ้างมั้ย
เป๊ะ: อยากจะบอกนักเรียนไทยที่มาเรียนที่นี่ว่าไม่ต้องอายค่ะ อยากให้ทุกคนมารู้จักกันจริงๆ อยากจะบอกว่าถ้าไม่รู้ว่าใครจงมารู้จักซะ เราอยากได้เพื่อนเพิ่ม ถ้าสนใจก็ลองเข้ามาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/tss.unsw
ปู: พอทีมของเราจัดงาน ก็อยากให้ทุกคนมาสนุกกัน ไม่ต้องอายหรือกลัวค่ะ ปูอยากหาเพื่อนเพิ่มจริงๆ ค่ะ ที่ USYD ปูว่าน่าจะมีคนไทยมากกว่า 30 คนที่เรารู้จักแน่ๆ ค่ะ เข้ามาทางนี้เลย facebook.com/usyd.tsa ก็อยากให้ทุกคนมารู้จักกัน ทุกคนเป็นมิตร มากๆ แล้วกิจกรรมก็สนุกมากๆ สนุกจริงๆ มาแล้ว บอกได้เลยว่าไม่มีใครเบื่อแน่นอน
แองเจลิก้า: อยากให้เพื่อนๆ ที่เรียน UTS มารู้จักกัน ถ้าอ่านหนังสือแล้วเครียด อยากรีแล็กซ์ ก็มาจอยกัน มาออกกำลังกายกันให้หายเครียด ได้เน็ตเวิร์คอีกด้วย ซึ่งการเข้าสังคมมันช่วยเรื่องการเรื่ยนด้วยนะ การเล่นกีฬาก็เหมือนกัน และสำหรับนักเรียน UTS สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกกับเราได้ที่ facebook.com/utsthaisociety
ปู: อย่างมีรุ่นพี่ที่เรารู้จักจากการทำกิจกรรม เขาเคยเรียนวิชาการเงินมาก่อน พอเรามาเรียนเขาก็ให้หนังสือ ให้ตัวอย่างข้อสอบ มาให้ค่ะ มันเลยช่วยเรื่องการเรียนได้เยอะเลยค่ะ ปูคิดว่าคนไทยที่มาอยู่ต่างประเทศก็อยากจะช่วยกันอยู่แล้ว
เป๊ะ: เราเป็นสมาคมที่ติดต่อกับหน่วยงานราชการไทยรวมทั้งผู้ใหญ่ในสังคมไทยที่นี่อยู่แล้ว ฉะนั้นถ้ามีปัญหาอะไรเราก็จะบอกผ่านไปเพื่อขอความช่วยเหลือ จะได้ไม่ต้องแก้ปัญหาเองคนเดียว