พาไปชม ตึกที่ดูทันสมัยอาคารนั้นก็คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ Faculty of Engineering and Information Technology (FEIT) Building, UTS
หลายคนอาจจะสงสัยทำไม พาไปดูตึกของ UTS บ่อยจัง ได้ค่าคอมรึเปล่า เฮ้ยยยย!!! เราไม่ได้อวยกันนะ แต่ของเค้าดีจริงๆ อ้ะ ไปดูกันดีกว่าว่ามันดียังไงเนอะ
คงต้องเริ่มเท้าความกันก่อนเลยค่ะ ว่า ด้วยความที่ UTS นั้นเดิมเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยี ที่ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยค่ะ เค้าไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ติดกันเป็นพื้นที่เดียว Campus ในเมืองของเค้าจึงต้องกระจัดกระจายไปรอบๆ ซึ่งทำให้ลดความเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปเล็กน้อย

ผู้บริหารจึงได้วางแผนการตลาดใหม่ โดยออกแบบโครงการขนาดใหญ่ขึ้นมา คือ การสร้างและปรับปรุงอาคารของ UTS ให้เกิดเอกลักษณ์ความเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีค่ะ พูดเฉยๆ อาจจะง่ายนะคะ แต่เอาเข้าจริงใช้เวลาหลายปี บวกเงินมหาศาล โครงการ UTS City Campus Master Plan นี้ ใช้เงินถึง $1 Billion หนึ่งพันล้านดอลลาร์เลยล่ะค่ะ โดยเงินทุนทั้งหมดนี้ UTS ได้รับเงินสนับสนุนจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ หน่วยวิจัยต่างๆ รวมถึงสมาคมศิษย์เก่าด้วยล่ะค่ะ
อาคาร FEIT building หรือที่เราเรียนกันว่า Broadway building นั้น ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเมลเบิร์นค่ะ ชื่อ Denton Corker Marshall เน้นการสร้างกรอบอาคาร โดยใช้ระบบเลขฐานสอง งงใช่มั้ยล่ะค่ะว่ามันเกี่ยวกันยังไง ก็เลขฐานสองเป็นพื้นฐานของศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ และ IT เค้ายังไงล่ะคะ

” ภายในก็ยังต้องการให้ความโฉบเฉี่ยวจากภายนอกอาคารลื่นไหลเข้าสู่พื้นที่ด้านใน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ พื้นที่แต่ละชั้นจึงไม่เท่ากันหมดทั้ง 13 ชั้น โถงกลางก็จะมีบันได ตัดขวางโถง โดยตลอด ซึ่งบางบันไดก็ไม่ได้เชื่อมชั้นต่อชั้น แต่เชื่อมข้ามชั้นไปเลย ”
ถ้ามองเผินๆ ก็ จะเห็นว่าแผงเปลือกอาคารมันเป็นที่บังแดดโลหะเจาะรูธรรมดาๆ แต่สังเกตดีๆ จะเห็นค่ะ ว่ารูทั้งหมดนั้นขนาดเท่ากัน โดยจะวางตัวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งกันแนวนอน แผงทั้งหมดนี้เป็นการสั่งทำตามขนาดเฉพาะ เพราะสถาปนิกต้องการให้อาคารนี้มีความแหวกแนว ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ แผงทั้งหมดก็เลยมีการแหวก ฉีกขาด

เผยให้เห็นความคิดใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์เป็นแสงเรืองรอง สีเขียว ภายในค่ะ เป็นไงล่ะค่ะ ล้ำลึกมากเลยเนอะ Summao สังเกตมาหลายอาคาร สงสัยว่าสถาปนิกออสซี่จะนิยมการออกแบบโทนเรียบ แต่แอบแรด เอ้ย! แอบมีสีสันสดใส ซ่อนไว้ข้างในค่ะ ที่เมลเบิร์นก็มีหลายอาคารใช้แนวคิดนี้ ไว้วันหลังจะหาโอกาสเล่าให้ฟังนะคะ
นอกจากนั้น ภายในก็ยังต้องการให้ความโฉบเฉี่ยวจากภายนอกอาคารลื่นไหลเข้าสู่พื้นที่ด้านใน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ พื้นที่แต่ละชั้นจึงไม่เท่ากันหมดทั้ง 13 ชั้น โถงกลางก็จะมีบันได ตัดขวางโถง โดยตลอด ซึ่งบางบันไดก็ไม่ได้เชื่อมชั้นต่อชั้น แต่เชื่อมข้ามชั้นไปเลย

ซึ่งอาจจะทำให้นักเรียนที่เพิ่งเปิดเทอมใหม่ๆ แล้วไปอาคารนี้ครั้งแรก เข้าห้องเรียนสายเพราะหาห้องไม่เจอก็ได้นะคะ อิอิ เห็นว่าช่วงเปิดใช้อาคารใหม่ ถึงกับต้องมีอาสาสมัครคอยชี้ทางไปห้องต่างๆ เลยนะคะ เพราะคนหลงกันเยอะมาก อาคารนี้เค้าต้องการโชว์พื้นที่การเรียนการสอนที่เป็น state-of-art ของการแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นกลุ่ม มากกว่าการป้อนข้อมูลค่ะ
ทำให้ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่กึ่งสาธารณะ คือ พื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยขนาดเล็กถึงกลางสำหรับ 2-10 คน พร้อมจอ screen ขนาดใหญ่ไว้สำหรับนักศึกษา กระจายไปทุกๆ ชั้น ว่าไปแล้ว น่าอิจฉานักเรียน UTS นะคะ อาคารใหม่ๆ เท่ห์ๆ เยอะแยะไปหมด นี่เรียกว่าเรียนกันท่ามกลางสุนทรียภาพกันเลยนะเนี่ย พูดไปอาจจะไม่เห็นภาพ ต้องไปดูรูปกันเลยค่า

อพาไปชม อาคารนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่เน้น การใช้เทคโนโลยีสื่อสารกับการเรียนการสอนค่ะ ในผัง Master Plan ของ UTS เองนั้น ความจริงในผังนี้ มีอาคารใหม่ทั้งหมด 3 อาคารค่ะ คือ Dr Chau Chak Wing Building ที่ เคยเล่าให้ฟังไปแล้ว อาคาร FEIT นี้ และอีกอาคารหนึ่ง คือ Faculty of Science and Graduate School of Health ซึ่งเพิ่งจะสร้างเสร็จไปหมาดๆ ไม่กี่เดือนเองค่ะ ไว้ฉบับหน้า จะมาเล่าให้ฟังละกันเนอะ
http://www.uts.edu.au/partners-and-community/venues-and-facilities/our-venues/broadway-building