วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ แต่ละประเทศ มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ศัตวรรษที่ 9 กาแฟถือว่าเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวทั้งกลิ่น และรสชาติ รวมถึงสรรพคุณที่ทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น
กระปรี้กระเปร่าและตื่นตัว (จากสารคาเฟอีน) ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ทำให้กาแฟเป็นที่นิยมแพร่หลายไปยังหลายๆ ประเทศจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการดื่มกาแฟในสังคมทำให้มี“วัฒนธรรมประชานิยม” จนเกิดกระบวนการทางสังคมสืบทอดวิถีวัฒนธรรมการชงการแฟและการดื่มกาแฟในเวลาต่อมา

ก่อนจะพูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมการดื่มกาแฟนั้น ขอย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 9 ของต้นกำเนิดกาแฟเมือ “กัลดิ” คนเลี้ยงแกะชาวเอธิโอเปียได้สังเกตุเห็นว่าแพะที่เขาเลี้ยงนั้นได้ไปกินเมล็ดพืชสีแดงชนิดหนึ่งซึ่งคล้ายผลเบอร์รี่แต่มีลักษณะรียาว ลำต้นมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน เมื่อแพะกินแล้วเกิดอาการกระปรี้กระเปร่ากระโดดโลดเต้น (The Dancing Goat) และไม่ยอมนอน เขาสังเกตดูอยู่หลายครั้ง
หลังจากที่แพะกินเมล็ดพืชชนิดนี้เข้าไป เขาจึงได้ทดลองกินดูบ้างและเกิดอาการเช่นเดียวกับแพะ เขาจึงได้แจ้งกับอิหม่าม (ผู้นำศาสนา) แต่อิหม่ามก็ไม่สนใจและโยนเมล็ดพืชนั้นลงกองไฟ ทำให้เมล็ดพืชนั้นโดนเผาและมีกลิ่นจนผู้คนในบริเวณนั้นมาล้อมวงดู ดังนั้นอิหม่ามจึงทดลองนำมาทำเครื่องดื่ม และพบว่าเมื่อดื่มแล้วทำให้สามารถช่วยให้สวดมนต์ได้นานขึ้นตลอดทั้งคืนและไม่ง่วงนอน
ในที่สุดพระนักบวชทุกคนในเอธิโอเปียได้ทานกันหมด และช่วยให้สามารถสวดมนต์ได้ในตอนกลางคืนจากการค้นพบความมหัศจรรย์ของไม้พันธุ์นี้ก็ถูกกระจายจากปากต่อปากและแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วทำให้กาแฟได้เป็นที่รูจักเป็นวงกว้างในเอธิโอเปีย

เมล็ดพืชชนิดนั้นก็คือ กาแฟ นั่นเอง ผลของเมล็ดกาแฟมีลักษณะเป็นลูกเล็กๆ เรียงกันเป็นช่อๆ เมื่อสุกเต็มที่ ผลเหล่านั้นจะมีสีแดง ลักษณะคล้ายลูกเชอร์รี่ ภายในแต่ละลูกมีเมล็ดกาแฟอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมี 2 เม็ดประกบกัน แต่บางลูกก็มีเพียงเมล็ดเดียว
ต่อมาพืชชนิดนี้ได้รับการเรียกชื่อว่า คัฟฟา (Kaffa) ตามชื่อของเขตที่ได้มีการพบต้นกาแฟเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ นับเป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาวเอธิโอเปียนิยมเคี้ยวเมล็ดกาแฟ (coffee beans) และไม่ได้น้ำไปต้มดื่มอย่างในปัจจุบัน โดยพวกเขานำเมล็ดไปบดให้ละเอียด ผสมกับเนยชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “กี (ghee)” แล้วปั้นเป็นก้อนไว้เคี้ยวทาน
แม้ในปัจจุบันนี้ชาวเอธิโอเปียบางส่วนที่อาศัยอยู่ในคัฟฟาหรือเขตใกล้เคียง เช่น ซิดาโม (Sidamo Province) ยังคงน้ำเมล็ดกาแฟไปเคี้ยวทานแบบสมัยก่อนอยู่ นอกจากนี้ยังได้มีการนำเมล็ดกาแฟไปผสมกับเหล้าองุ่นและเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้และถั่วตากแห้ง จนกระทั้งในศตวรรษที่ 13 จึงได้มีการนำเมล็ดกาแฟไปต้มและทำเป็นเครื่องดื่มร้อน
กาแฟในโลกอาหรับ
ในเวลาต่อมาพ่อค้าชาวเยเมนได้นำเมล็ดกาแฟจากเอธิโอเปียกลับไปปลูกที่ประเทศเยเมนเมื่อปี ค.ศ. 1000 และแพร่หลายไปยังตะวันออกกลาง ถึงคาบสมุทรอาหรับตามลำดับ (ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (Strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” Kaveh)
แต่ในปี ค.ศ.1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล ประเทศตุรกีนามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้กาแฟ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย เพราะดื่มแล้วเกิดอาการเหมือนเสพติดถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนา แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุผู้คนยังแอบลักลอบดื่มต่อไป และหนึ่งปีหลังจากนั้นกาแฟเป็นที่นิยมมากขึ้น
ในโลกของชาวอาหรับและมีร้านกาแฟเกิดขึ้นและเป็นแหล่งรวมนักปราชญ์ศิลปินและเหล่านักคิด โดยเรียกสถานที่นี้ว่า “(School of the Wise)” ทำให้องค์กรศาสนามองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องสุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า “กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน” ทำให้ความนิยมในกาแฟจึงลดลง

กาแฟในยุโรป
อย่างไรก็ตามกาแฟจากโลกมุสลิม ได้แพร่ขยายไปยังอิตาลี การค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายจากเมืองท่าเวนิซไปทั่วยุโรป (สำหรับโลกตะวันตกแล้วเพิ่งรู้จักกาแฟกันเมื่อประมาณ 300 กว่าปีมานี้เอง)
การส่งออกกาแฟจากอาหรับไปขายยังยุโรปมีขึ้นที่เมืองท่าอเล็กซานเดรีย (Alexandria) และเมืองสไมร์นา (Smyrna) ในประเทศอียิปต์ อย่างไรก็ตาม จากความต้องการที่มากขึ้นของตลาด ตลอดจนความรู้เทคโนโลยีในการปลูกต้นกาแฟ และภาษีที่ถูกเรียกเก็บอย่างแพงตามเมืองท่าส่งออก ทำให้พ่อค้าขายเมล็ดกาแฟและนักวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าการปลูกกาแฟในประเทศอื่นๆแทนการนำเข้าจากประเทศอาหรับเหล่านี้ เช่น สเปน และโปรตุเกส ได้ทดลองปลูกกาแฟในประเทศอานานิคมของตนทั้งในเอเชียและอเมริกา
ส่วนชาวดัชท์ไปทดลองปลูกกาแฟในเขตอาณานิคมของตนในชวาและปัตตาเวีย ซึ่งเมื่อประสบความสำเร็จก็ได้นำพันธุ์กาแฟไปปลูกต่อที่เกาะสุมาตราและเกาะเซเลเบส (Celebes) กาแฟได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น (สังคมชั้นสูงของยุโรปเรียกกาแฟว่าเป็น “เครื่องดื่มของนักปราชญ์”) ที่นครเวนิสในช่วงแรกนั้น ราคาของกาแฟสูงมาก เฉพาะผู้มีฐานะร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถหาซื้อมาดื่มได้
ต่อมากาแฟเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ราคากาแฟถูกลง และได้มีการตั้งร้านขายกาแฟ (coffee shop) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1640 จากนั้นเมืองอื่นๆ ในอิตาลีได้ทำการเปิดร้านขายกาแฟขึ้นเช่นกัน

มีเรื่องเล่ากันมาว่าในช่วงแรกๆ ได้มีชาวคริสต์บางกลุ่มต่อต้านเครื่องดื่มกาแฟโดยเห็นว่าเป็นเครื่องดื่มแห่งความชั่วร้าย จึงได้เรียกร้องให้พระสันตะปาปา Clement ที่ 8 เป็นผู้ตัดสินซึ่งก่อนที่พระองค์จะทรงวินิจฉัยก็ได้ทรงลองดื่มกาแฟ ปรากฏว่าพระองค์ทรงพอใจในรสชาติของกาแฟ จึงได้ทรงตัดสินอนุญาตให้ชาวคริสต์ดื่มกาแฟได้โดย “ไม่เป็นบาป” ทำให้กาแฟได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
มีหลักฐานระบุด้วยว่าในปี ค.ศ. 1801 ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลีมีการนำเมล็ดกาแฟไปผสมทำเป็นยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ ด้วย หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ลงความเห็นว่ามันเป็นเครื่องดื่มสำหรับคริสเตียน ในปี คริสต์ศักราช 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก “เครื่องดื่มมุสลิม” ก็ตาม
ในปี คริสต์ศักราช 1645 ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟเป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปีคริสต์ศักราช 1616 ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน

ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี คริสต์ศักราช 1711 และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี คริสต์ศักราช 1657 และเข้าสู่ออสเตรียและโปแลนด์ หลังจากยุทธการเวียนนา เมื่อปีคริสต์ศักราช 1683 ซึ่งทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น
“การมานั่งดื่มกาแฟในตอนเช้า ของกลุ่มคนคุ้นเคยในละแวกบ้านเดียวกัน พร้อมทั้งพูดคุยถกปัญหาประจำวันไปมากๆ ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เรียกว่า “สภากาแฟ” ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ”

กาแฟในฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสสนใจปลูกกาแฟเองในต้นศตวรรษที่ 17 โดยพยายามปลูกในเขตดิจอง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกินไปสำหรับ การปลูกกาแฟ ในปี ค.ศ. 1714 นายกเทศมนตรีของเมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ได้มอบต้นกาแฟให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (เป็นผู้รักการดื่มกาแฟ) ซึ่งพระองค์มีพระประสงค์จะปลูกกาแฟได้ทรงนำไปทดลองปลูกในสวนพฤกษชาติเรือนกระจก (Royal Botanical Garden)ในตอนนั้นถูกเรียกว่า “ต้นไม้ชั้นสูง” (ครั้งแรกของยุโรป)
หลังจากนั้นต้นกาแฟได้แพร่พันธุ์ไปทั่วโลก ต้นกาแฟสายพันธุ์อาราบิกาหลายพันล้านต้นถูกส่งออกไปยังอเมริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก (ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1723 นายกาเบรียล แมททิว เดอ คลิเออ (Gabriel Mathieu de Clieu) นายทหารเรือฝรั่งเศสได้รับอนุญาตให้นำเอาต้นกาแฟจากสวนพฤกษชาติ ดังกล่าวไปทดลองปลูกที่เกาะมาร์ตินิค (Martinique) ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในทะเลแคริบเบียน ต้นกาแฟเหล่านั้นได้เติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วมากว่า 18 ล้านต้นในเวลา 50 ปี และพันธุ์กาแฟจากที่แห่งนี้เองที่ได้แพร่ขยายไปทั่วหมู่เกาะแคริบเบียนและต่อไปยังอเมริกากลางและอเมริกาใต้ด้วย
เราอาจจะเห็นว่ามีกาแฟอยู่ทุกหนแห่งในอเมริกา แต่ไม่มีไร่กาแฟที่นั่นเลยจนกระทั่งเกเบรียล เมธิว เอด ซลู นำต้นไม้ชั้นสูงจากฝรั่งเศสข้ามทะเลแอตแลนติกไปปลูกที่เกาะมาร์ตินิค แม้ว่าฝรั่งเศสจะพยายามนำกาแฟไปปลูกในประเทศอาณานิคมต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะขยายพันธุ์กาแฟ ว่ากันว่า พันเอก ฟรานซิสโก เดอ เมลโล พาลเฮตา (Col. Francisco de Mello Palheta) ชาวบราซิล ได้เป็นผู้นำเมล็ดกาแฟจากอาณานิคมฝรั่งเศสที่แฟรนซ์ กีอานา (French Guiana) ไปปลูก โดยภริยาของผู้ว่าการแห่งเฟรนซ์ กีอานาได้ลักลอบนำเอาเมล็ดของต้นกาแฟ
ซ่อนไว้ในช่อดอกไม้มอบให้เป็นของขวัญแก่นายพันพาลเฮตานั่นเอง
การปลูกกาแฟมีขึ้นอย่างจริงจังทางตอนเหนือของประเทศบราซิล แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้มีการย้ายที่ปลูกไปยังริโอ เดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) และ ต่อมาย้ายไปที่ซานเปาโล (San Paolo) และมินาส (Minas) / ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้กาแฟกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของบราซิลจากนั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อปี ค.ศ.1975 ได้เกิดโรคระบาดต้นกาแฟ ทำให้เกิดการ
ขาดแคลนกาแฟในบราซิลจึงได้มีการคิดค้นนำเอาพืชหรือรากของพืชชนิดอื่นไปทำเพื่อทดแทนเป็นกาแฟ ซึ่งพืชชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาคือ ซิคโครี (chicory) แม้ว่าต่อมาจะมีการผลิตกาแฟได้เหมือนเดิม แต่เครื่องดื่มทดแทนกาแฟก็ได้กลายเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดื่มกาแฟซึ่งมีสารคาเฟอีนได้

กาแฟในอังกฤษ
ในอังกฤษนั้น การดื่มกาแฟได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในกลางศตวรรษที่ 17 มีร้านขายกาแฟมากว่า 300 แห่งในกรุงลอนดอน ซึ่งร้านเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รวมของพ่อค้า นักเดินเรือและศิลปินอีกด้วย สำหรับอาณานิคมของอังกฤษในโลกใหม่ (New World) คือสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ เมื่อกลางทศวรรษที่1600 ชาวอังกฤษได้นำกาแฟเข้าไปยังเมืองนิว อัมสเตอร์ดัม (New Amsterdam) ซึ่งต่อมาคือนครนิวยอร์คนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้ร้านขายกาแฟจะเกิดชึ้นอย่างรวดเร็วในโลกใหม่แห่งนี้
แต่ผู้คนยังนิยมดื่มชากันมาก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1773 เมื่อชาวอาณานิคมก่อการปฏิวัติเรื่องภาษีในชาที่เมืองบอสตัน (Boston Tea Party) เพราะกษัตริย์จอร์จ (King George) แห่งอังกฤษได้ทรงบัญชาให้มีการขึ้นภาษีใบชา จึงกล่าวกันว่าการปฏิวัติเรื่องภาษีใบชานั้นได้มีส่วนทำให้ชาวอาณานิคมหันไปนิยมดื่มกาแฟแทน

กาแฟในประเทศไทย
คนไทยได้รับอิทธิพลและ วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ มาจากชาวอเมริกันและชาวอังกฤษที่ได้เข้ามาทาการค้าขายในประเทศไทยและฝรั่งเศสที่เข้ามาล่าอนานิคม ซึ่งมีบันทึกว่ากาแฟเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีข้อความปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของฝรั่งที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่า “พวกแขกมัวร์ชอบดื่มกาแฟมาก แต่คนไทยยังไม่ค่อยนิยมดื่ม เพราะมีรสขมจนคิดว่าเป็นยาไปด้วยซ้า
เพิ่งจะมาแพร่หลายจริงจัง นิยมปลูก และนิยมดื่มกันก็เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์แล้ว” กาแฟไทยโบราณ คำาว่า “กาแฟ” เป็นคำาสมัยใหม่
แรกเริ่มเดิมทีคนไทยเรียกเจ้าเครื่องดื่มที่มีรสชาติขมนี้ว่า “ข้าวแฝ่” แผลงมาจากคำาว่า coffee (ปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2416 ว่า “กาแฝ่” คือต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อนกินคล้ายใบชา)
ในระยะแรกๆ นั้นกาแฟเป็นที่นิยมในกลุ่มชนชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนัก เข้าใจได้ว่ากลุ่มชนชั้นสูงดื่มกาแฟเพื่อใช้ในการเข้าสังคมตามอิทธิพลจากประเทศล่าอณานิคมต่างๆ และได้นำกาแฟเข้ามาเพาะปลูกโดยให้แรงงานใต้ปกครองเป็นคนดูแล และทำให้แรงงานเหล่านี้มีโอกาสทดลองดื่มและเกิดการแพร่หลายสู่คนทุกระดับชั้น
ในเวลาต่อมาจนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) กาแฟ เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น แต่ยังมีราคาค่อนข้างสูง โดยสายพันธุ์กาแฟที่ชนชั้นสูงได้นำเข้ามาปลูกในไทยนั้นเป็นพันธุ์อาราบิก้า เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งร้านกาแฟชื่อ“นรสิงห์”ขึ้นบริเวณถนนศรีอยุธยา ริมลานพระบรมรูปทรงม้า และได้รับความนิยมจากข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป ที่ทำให้ต่อมาได้มีการตั้งร้านกาแฟขึ้นอีกหลายแห่งและเมื่อถึงยุคที่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟแพร่หลายมาถึงคนในระดับล่าง มีร้านกาแฟปรากฏขึ้นทั่วไป ในบริเวณที่เป็นชุมชนหรือตลาดที่มีคนมากๆ
การมานั่งดื่มกาแฟในตอนเช้า ของกลุ่มคนคุ้นเคยในละแวกบ้านเดียวกัน พร้อมทั้งพูดคุยถกปัญหาประจำวันไปมากๆ ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เรียกว่า “สภากาแฟ” ที่รู้จักกันโดยทั่วไป สภากาแฟหรือสังคมร้านกาแฟที่จะต้องมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 สิ่งด้วยกันคือ เครื่องดื่ม คนกิน (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) และพื้นที่หรือร้านกาแฟนั่นเอง

กาแฟที่นิยมเพาะปลูกกันทั่วโลก
กาแฟหลักที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์มีอยู่ด้วยกันสองพันธุ์ ได้แก่ “Coffee Arabica และ “Coffee Canephora หรือ Robusta” ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์มีคุณลักษณะแตกต่างกัน คือ กาแฟพันธุ์อาราบิก้าเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูง มีกลิ่นหอมปริมาณคาเฟอีนต่า ถือเป็นพันธุ์กาแฟที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก
โดยจะปลูกอยู่ในระดับความสูงที่ค่อนข้างสูง ระหว่าง 1,000-2,000 เมตร หรือ 3,280-6,561 ฟุตเหนือระดับน้าทะเล สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟพันธุ์ดังกล่าว โดยอุณหภูมิตลอดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 15-24 C นิยมผลิตเป็นกาแฟคั่วบด ชงดื่ม (Ground Coffee)
เมล็ดอาราบิก้ามีรูปทรงที่ใหญ่ ยาวและแบนกว่าเมล็ดโรบัสตา ทั้งยังมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่า และให้รสที่นุ่มนวลและอมเปรี้ยวมากกว่า แม้ว่าจะปลูกยากเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดโรค แมลง และน้ำค้างแข็ง แต่เมล็ดอาราบิกายังคงครองสัดส่วนถึงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณกาแฟโลก
ส่วนกาแฟโรบัสต้า เป็นกาแฟที่มีความเข้มข้นในตัวเองตัวเมล็ดจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีรูปทรงยาวรีและโป่ง ปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าและสามารถคงกลิ่นไว้ได้นาน จึงนิยมใช้ผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป (Instant Coffee) ถือเป็นเมล็ดกาแฟที่มีความทนทานต่อโรคและแมลงอย่างมาก ต้นกาแฟโรบัสต้ามักปลูกในแถบเขตร้อนชื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-30 C มักจะพบมากในแถบแอฟริกาตะวันตกและกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบราซิล
ในประเทศไทย มีการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาในแถบจังหวัดทางภาคใต้ อาทิ ระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นต้นแม้ว่ากาแฟที่ปลูกมีเพียง 2 สายพันธุ์ แต่เมื่อนำไปปลูกในสถานที่ต่างๆ กันก็จะได้คุณสมบัติและเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน และจะส่งผลโดยตรงต่อราคากาแฟในแหล่งเพาะปลูกนั้นๆ