วันอีสเตอร์ วันอาทิตย์หลังพระจันทร์เต็มดวง จะไปผูกไว้ให้เป็นวันอาทิตย์หลังพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกของวัน Equinox คนไทยเราคงชินกับการที่ วันสงกรานต์ตรงกันวันที่ 13 เมษายนของทุกปี แต่วันลอยกระทงกลับไม่เคยตรงวันกัน ในแต่ละปี
เหตุผลก็เพราะว่าวันสงกรานต์ยึด ตามปฏิทินสุริยคติหรือเวลาตามการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในขณะที่วันลอยกระทงใช้ปฏิทินจันทรคติ คือการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกซึ่งมีรอบสั้นกว่า

ทำให้ในแต่ละปีวันสำคัญใดที่ ไปยึดกับปฏิทินจันทรคติ (เช่นวันตรุษจีน วันพระใหญ่ต่างๆ ของไทย หรือวันรอมฎอน) วันจะเลื่อนไปเลื่อนมา สำหรับวันทางศาสนาคริสต์ก็เป็นหลักเดียวกัน มีการใช้ทั้งสองปฏิทินควบกัน เช่น วันคริสต์มาสจะตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ในขณะที่วันอีสเตอร์ จะไปผูกไว้ให้เป็น วันอาทิตย์หลังพระจันทร์เต็มดวง ครั้งแรกของวัน equinox (วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน)
ในฤดูใบไม้ผลิ นี่เองเป็นเหตุให้วันอีสเตอร์จะมาฉลองกัน ในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน ของทุกปีสำหรับคำว่า Easter นั้น หลายคนเข้าใจผิดว่ามาจากคำว่า East ที่แปลว่าทิศตะวันออก แต่จริงๆ แล้วคาดว่าคำนี้ถูกนำมาจากคำว่า Eostre ซึ่งเป็นชื่อเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ และยังถูกขนานนามให้เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วย

เหตุที่ทำไมอีสเตอร์ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ของคริสตศาสนา และเกี่ยวข้องกับ การกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซู แต่กลับไปมีรากศัพท์มาจากชื่อของเทพีนั้น เกี่ยวพันกับจุดกำเนิดของศาสนาคริสต์ ที่เริ่มต้นจากการเป็นศาสนาเล็กๆ ที่ถูกเบียดเบียนโดย จักรวรรดิโรมันซึ่งเข้ามายึดครองดินแดน แถบปาเลสไตน์อยู่ในเวลานั้น (ประมาณ 4-5 ปีก่อนคริสตกาล)
แต่ประมาณ 300 ปีต่อมา จักรพรรดิโรมันได้หันมานับถือศาสนาคริสต์ และพยายามเผยแพร่ความเชื่อนี้ในจักรวรรดิ และขยายไปที่ต่างๆ ที่จักรวรรดิโรมันย่างกรายไปถึง จนทำให้อาณาจักรโรมัน เปลี่ยนบทบาทจากผู้ข่มเหงกลายเป็นผู้ส่งเสริมคริสตศาสนา

ดังนั้น ศาสนาคริสต์นิกายหลักนี้ จึงถูกเรียกว่าโรมันคาทอลิก ตามผู้เผยแพร่หลักคือคนโรมันนั่นเอง (คำว่าคาทอลิกมาจากคำลาตินว่า catholicus แปลว่า universal) เมื่อจักรพรรดิเปลี่ยนความเชื่อ ก็พยายามจะทำให้ประชาชนใต้ปกครองเปลี่ยนความเชื่อไปด้วย
แต่หากจะออกกฎมาบังคับให้คนเปลี่ยนความเชื่อ ก็จะเป็นการหักด้ามพร้าด้วยเข่าเกินไป จักรพรรดิจึงได้พยายาม “กลืน” ความเชื่อเก่าๆ ของวิถีแห่ง pagan หรือกลุ่มคนโรมันเดิมที่ไม่ได้นับถือ พระเจ้าสูงสุดแต่นับถือเทพเจ้ามากมาย เอามาผสมปนเปกับความเชื่อใหม่แบบคริสต์ กลืนไปทีละน้อยจนผู้คนหันมาเคารพบูชาศาสนาคริสต์ไปเองในที่สุด
คำว่า Easter นั้น หลายคนเข้าใจผิดว่ามาจากคำว่า East ที่แปลว่าทิศตะวันออก แต่จริงๆ แล้วคาดว่าคำนี้ถูกนำมาจากคำว่า Eostre ซึ่งเป็นชื่อเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ และยังถูกขนานนามให้เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วย.
ธรรมเนียมที่กลืนของเก่าอย่างแนบเนียนเช่น การทำให้วันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งเดิมเป็นวันฉลองเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ไปเป็นการฉลอง วันประสูติของพระเยซูแทน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ชื่อเทพี Eostre จะถูกใช้มาเป็นวัน Easter ไปซะได้อีกธรรมเนียมนึงที่เกี่ยวข้องคือไข่อีสเตอร์ เหตุเพราะคนโรมันตั้งแต่ก่อนคริสตกาลนั้น ทั้งนี้ ใช้ไข่เป็นก็เพื่อสื่อถึงการเกิดใหม่ ชีวิตที่ กำลังเริ่มต้นใหม่ และสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ คือจากความไม่มีอะไรกลายเป็นความมีชีวิต
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเฉลิมฉลอง คือ ไข่ โดยชาวคริสต์จะเรียกว่า ไข่อีสเตอร์หรือไข่ปัสกา โดยชาวคริสต์มักจะวาดรูปตกแต่งลวดลายไข่ ให้สวยงามอย่างสนุกสนาน และนิยมกินไข่ในวันดังกล่าว เต็มไปด้วยความชื่นบานและความดี ซึ่งเชื่อว่าหากกินไข่แล้วจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาสู่ชีวิตของเรา

เมื่อต่อมามีความเชื่อเรื่อง การฟื้นคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเข้ามา ในบริบทของสังคม ก็นำไข่มาเป็นสัญลักษณ์ของอีสเตอร์ไปด้วยเลย สัญลักษณ์อีสเตอร์อีกอย่างหนึ่งที่ เห็นจนชินตาคือกระต่ายนั้น จริงๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ พระเยซูหรือคนโรมันทั้งสิ้น
แต่เกิดมาจากกลุ่มโปรแตสแตนอเมริกัน ซึ่งพยายามจะหาสัญลักษณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ยึดโยงกับความเป็น pagan มากเกินไป และกระต่ายเป็นสัตว์ที่ออกลูกดก ซึ่งตามความเชื่อยิวโบราณการมีลูกมากถือ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ หรือการได้รับพรจากพระเจ้า (เพราะพระเจ้าบอกกับอับราฮัมว่า เราจะให้เจ้ามีลูกหลานมากเท่าดวงดาวบนท้องฟ้า เท่าเม็ดทรายในทะเล)
โดยที่อีสเตอร์ฉลองกันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นฤดูแห่งความอุดม เจ้ากระต่ายลูกดกเลยถูกพ่วงมาอยู่ในสัญลักษณ์ของอีสเตอร์ไปอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเนียมอีสเตอร์ในประเทศต่างๆ อาจจะมีสีสันหลายหลาก

มีเกร็ดน่าสนใจต่างกันไป แต่ก็มีแก่นที่เป็นศูนย์กลางหนึ่งเดียวคือพระเยซู ซึ่งถือเป็นบุคคลหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ถือกำเนิดเกิดมาแล้วสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โลก แม้จะทรงมีเวลาสั่งสอนสั้นมาก เพียง 3 ปี แต่ในช่วงสั้นๆ นี้ ได้ทรงสั่งสอนคำสอนที่ตีกรอบในเรื่องของความรัก คือให้รักพระเจ้าอย่างสุดจิตใจ และรักเพื่อนมนุษย์เหมือนที่เรารักตัวเราเอง
คำสอนสั้นๆ ง่ายๆ แต่มีพลังสามารถเขย่าโครงสร้างของสังคมยิวในขณะนั้นได้ สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของ จักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ได้ และสามารถกลายเป็นศาสนาหลัก ของโลกได้ ในปัจจุบันชีวประวัติของพระเยซูตั้ง แต่คริสต์มาสคือการรำลึกถึงวันประสูติ จนถึงวันอีสเตอร์คือวันที่ถูกตรึงกางเขนแล้ว กลับคืนพระชนม์ชีพนั้น มีผู้ตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์มากมาย เช่น พระเยซูทำปาฏิหารย์เดินบนน้ำได้แน่หรือ เคยมีภรรยาและครอบครัวหรือเปล่า ได้สิ้นพระชนม์บนกางเขนจริงหรือไม่

คำถามเหล่านี้คนที่ถามส่วนใหญ่จะถามเพราะอยากหา คำตอบโดยละเลยสิ่งที่สำคัญกว่าคือคำสอน ที่พระเยซูทรงสอนไว้ คนที่ไม่ต้องพยายามตั้งคำถามมากมาย แต่สามารถแบ่งปันความรักให้คนรอบข้างได้ อาจจะมีความสุขกว่าคนที่แสวงหาคำตอบทั้งชีวิต แต่ไม่เคยมีความรักให้ใครเลย
(ป.ล. ขอบคุณภาพจากแหล่งต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต)
บทความของ (ท่องโลกไปกับ..หนึ่ง-นักการทูต)