Home Editor's Picks เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) ของ คริสตศาสนิกชน ตอน 1

เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) ของ คริสตศาสนิกชน ตอน 1

by ChaYen

เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของ คริสตศาสนิกชน (ในทางศาสนคติถือว่าสำคัญกว่าวันคริสต์มาส แม้ว่าในปัจจุบันคนจะฉลองคริสต์มาสกัน อย่างสนุกสนานเอิกเกริกก็ตาม)

และโดยที่คนเกือบร้อยละ 90 ในโปแลนด์นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เทศกาลอีสเตอร์ จึงถือเป็นช่วงเทศกาลใหญ่ของโปแลนด์ จะเข้าใจประวัติของ เทศกาลอีสเตอร์ (Easter) นั้น จะต้องย้อนกลับไปไกลซักนิดนึง

เริ่มตั้งแต่ตำนานสมัยที่ คนยิวยังอาศัย และเป็นทาสอยู่ในอียิปต์ และโมเสส (ซึ่งจริงๆ เป็นคนยิวแต่ได้รับการเลี้ยงดูจากฟาโรห์จนเป็นเจ้าชาย และมารู้พื้นเพตนเองในภายหลัง) ได้พยายามจะนำคนยิวออกจากการเป็นทาส

เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)

แน่นอนว่าเมื่อโมเสสไปขอฟาโรห์ดีๆ ว่าจะให้คนยิวเลิกเป็นทาส และออกจากอียิปต์ ฟาโรห์ก็ไม่ยอมเพราะจะหาทาสที่ไหนมาช่วยสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในอาณาจักร ทำให้โมเสสต้องอาศัยพลัง จากพระเจ้าแสดงอำนาจหลายประการ แต่จนแล้วจนรอด ฟาโรห์ก็ไม่ยอม โมเสสจึงต้องใช้ไม้ตาย คือบอกว่าจะให้เทวทูต ฆ่าเด็กชายหัวปี ในอียิปต์ให้หมดในคืนเดียว แต่โมเสสได้บอกครอบครัวชาวยิวไว้ว่า ให้นำเลือดแกะมาทาไว้ที่ขอบประตู เมื่อเทวทูตผ่านมาจะได้รู้ว่านี่คือบ้านชาวยิว และข้ามผ่านไป

ในตอนเช้าก็ปรากฏว่า เด็กชายหัวปีของอียิปต์เสียชีวิตทั้งหมด รวมทั้งบุตรชายของฟาโรห์ด้วย ในขณะที่ครอบครัวชาวยิวปลอดภัย ฟาโรห์จึงต้องยอมจำนน ต่ออำนาจของพระเจ้า และจำใจปล่อยให้คนยิวได้รับอิสรภาพ และออกจากอียิปต์

เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)

วันที่เทวทูตผ่านไปนี้ จึงถือเป็นวันสำคัญที่พระเจ้าช่วยเหลือชายยิว ให้รอดพ้นจากศัตรูร้าย คนยิวจึงฉลองวันนี้อย่างยิ่งใหญ่.. วันนี้ในภาษา Aramaic (อารามาอิก) หรือภาษายิวโบราณเรียกว่าเทศกาล Pascha

คริสตศาสนิกชนในไทยเรียกว่าเทศกาลปัสกา และคนยิวฝรั่งเรียกว่าเทศกาล Passover คือการนึกถึงการที่เทวทูตข้ามผ่านครอบครัวชาวยิวไป และเป็นการช่วยเหลือคนยิวให้รอดพ้นและได้รับอิสรภาพนั่นเอง

ชาวยิวฉลองเทศกาล Passover นี้ตั้งแต่สมัย โมเสสเรื่อยมาจากถึงสมัยพระเยซู (คาดว่าประมาณ 2 พันปี) ซึ่งเวลานั้น เมื่อเทศกาลนี้มาถึง คนยิวที่อยู่เมืองต่างๆ จำนวนมากจะเข้ามาที่นครเยรูซาเล็มกัน และในปีสุดท้ายของชีวิตพระเยซู พระองค์ก็ทรงเดินทาง เข้ามายังเยรูซาเล็มด้วย และด้วยความที่ตอนนั้น พระเยซูถือว่ามีชื่อเสียง มีผู้ติดตามฟังคำสอนมากมาย

ตอนที่พระเยซูขี่ลาเข้าสู่เยรูซาเล็ม ก็มีประชาชนถือใบไม้ (ส่วนมากเป็นใบปาล์มท้องถิ่น) มาปูทางบ้าง มาโบกต้อนรับบ้าง .. เป็นที่มาของการฉลอง Palm Sunday ของคนคริสต์ทั่วโลกในปัจจุบัน (คนคริสต์ในไทยเรียกวันนี้ว่าวันอาทิตย์ใบลาน)

ศาสนาคริสต์จะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย หากพระเยซูได้เกิดมา ได้สั่งสอนผู้คนจำนวนมาก ถูกจับประหารและจบลงเท่านั้น แต่คริสตศาสนิกชนเชื่อว่า พระเยซูถูกตรึงกางเขนในวันศุกร์ และกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งในวันอาทิตย์ (คือวัน Easter Sunday) ทำให้พระเยซูได้รับการสักการะในฐานะบุตรแห่งพระเจ้า เหตุนี้ทำให้วันอีสเตอร์สำคัญกว่าวันคริสต์มาส.

หนึ่งนักการทูต

ในสัปดาห์สำคัญนี้ พระเยซูได้ทำกิจกรรมหลายประการ เช่น การไปยังวิหารหลัก ของนครเยรูซาเล็ม และต่อว่าต่อขานและทำลายข้าวของพวกเอาของต่างๆ มาขายจนทำให้วิหารของพระเจ้ากลายเป็นตลาดไป (ซึ่งก็สร้างความไม่พอใจให้พวกผู้นำทางศาสนา ณ เวลานั้น เนื่องจากได้ประโยชน์จาก การค้าขายในวิหารด้วย) การทานอาหารค่ำกับเหล่าอัครสาวก (คือ the Last Supper) และถูกจับจนนำไปสู่การตรึงกางเขนในวันศุกร์ (วัน Good Friday คนคริสต์ในไทยเรียกกันง่ายๆ ว่าวันศุกร์พระตาย) ในที่สุด

ศาสนาคริสต์จะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย หากพระเยซูได้เกิดมา ได้สั่งสอนผู้คนจำนวนมาก ถูกจับประหารและจบลงเท่านั้น แต่คริสตศาสนิกชนเชื่อว่า พระเยซูถูกตรึงกางเขนในวันศุกร์ และกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งในวันอาทิตย์ (คือวัน Easter Sunday)

ทำให้พระเยซูได้รับการสักการะ ในฐานะบุตรแห่งพระเจ้า เหตุนี้ทำให้วันอีสเตอร์สำคัญกว่าวันคริสต์มาส.. และในช่วงเวลานี้ที่คนยิวฉลองเทศกาล Passover คนคริสต์จะฉลองวันอีสเตอร์ ในฐานะของวันที่พระเยซู ฟื้นคืนพระชนม์ชีพ ตั้งแต่นั้นมาคนยิวและคนคริสต์ ต่างฉลองวันสำคัญช่วงเดียวกัน แต่คนฉลองกันคนละมุม

ความสำคัญทางศาสนาใดๆ ก็ตาม พอผ่านกาลเวลาไป และถูกนำเข้ามาผนวกกับ ความเป็นท้องถิ่น มักทำให้ศาสนากับประเพณี ถูกประสานกลมกลืมเข้าด้วยกัน เทศกาลอีสเตอร์ที่ฉลองกัน ในโปแลนด์ก็เช่นกัน มีกลิ่นสีกลิ่นอายของการฉลองแบบโปแลนด์เข้าไปพอสมควร แต่จะเล่าตอนนี้เกรงจะยาวเกินไป

วันอีสเตอร์นั้น ไม่มีวันที่ระบุตายตัว แต่ชาวคริสต์ได้ถือเอาวันอาทิตย์แรกหลังพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 4 เป็นตัวกำหนด สัญลักษณ์ที่ใช้ ในการเฉลิมฉลอง คือ ไข่ โดยชาวคริสต์จะเรียกว่า ไข่อีสเตอร์หรือไข่ปัสกา ขอติดเอาไว้เล่าในวันอีสเตอร์ (ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน) ละกันครับ

(ป.ล. ขอบคุณภาพจากแหล่งต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต)

บทความของ (ท่องโลกไปกับ..หนึ่ง-นักการทูต)

Related Articles

Leave a Comment