Home Editor's Picks แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร ร้านไทยในออสยุคปี 2000

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร ร้านไทยในออสยุคปี 2000

by ChaYen
Main Story Vr Thai

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร ซึ่งถ้ามองในแง่ของการออกแบบและแนวความคิดแล้ว สิ่งพิมพ์พวกนี้ถือเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่า สามารถบอกเล่าเรื่องราวของความเป็นมาเป็นไปของร้านอาหารไทยในออสเตรเลีย

ร้านต้องขอยอมรับแบบปฏิเสธไม่ได้ว่า ใบปลิวร้านอาหารธรรมดาๆ ที่อาจดูไร้ค่าในสายตาบางคนนั้น คือตัวขับเคลื่อนกิจการร้านอาหารไทยในออสเตรเลียตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่มีร้านอาหารไทยเกิดขึ้นมากมายในช่วง 5-6 ปีมานี้ จนทำให้ทุกร้านต้องมีกลเม็ดเด็ดพรายในการดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน ซึ่งแน่นอน ก่อนที่จะทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาติของอาหาร

Menu Cover

การบริการหรือก็ตามแต่ ใบปลิวพวกนี้แหล่ะคือด่านแรกที่จะเป็นตัววัดใจลูกค้าว่า จะลองของใหม่นี้หรือไม่ นอกจากนี้ ใบปลิวพวกนี้ยังใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้า หากทางร้านมีการปรับเปลี่ยนอะไรใหม่ๆ และต้องการให้ลูกค้าทราบ เพื่อที่ลูกค้าเองก็จะได้ประโยชน์สูงสุดจากใบปลิวพวกนี้

ในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ลองมาชมใบปลิวและเมนูกินในของร้านทั้ง 10 ร้านที่ทางทีมงานเลือกมาแบบที่ไม่ติดลิขสิทธิ์ หรือไม่ได้ต้องหวังผลทางการเมืองอย่างที่ใครแอบอ้างแต่อย่างใด โดยบทสรุปก็ไม่ได้ต้องการที่จะวัดว่าร้านไหนเจ๋งกว่ากัน

ปี : 2002 จุดเด่น : แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร ยุคปี 2000

Thailand

Thailand

ร้านไทยเก่าแก่ของเมืองซิดนีย์และย่าน Newtown ที่ใช้คำว่า “Thailand” เป็นชื่อร้านแบบไม่ต้องให้สงสัยกันเลยว่าร้านนี้มีอะไรขาย ถึงแม้ว่าร้าน Thailand จะปิดกิจการไปนานแล้ว แต่มนต์ขลังและแนวความคิดของร้านนี้ก็ยังทำให้คนพูดถึงจนถึงปัจจุบันนี้

Thailand EA

ด้วยสภาพตัวร้านที่เป็นแบบ Fine Dining จึงทำให้สไตล์การออกแบบค่อนข้างพิธีพิถัน เน้นความเรียบง่าย แต่สง่างาม โดยเฉพาะเมนูกินในแบบโมเดิร์น (ในสมัยนั้น) คล้ายกับร้านฝรั่งในยุคนั้น พร้อมภาพอาหารที่อธิบายให้ชาวต่างชาติเข้าใจเล็กๆ ว่าหน้าตาอาหารไทยเป็นอย่างไร โดยที่ยังไม่ได้เน้นการจัดจานเหมือนในปัจจุบัน การออกแบบโลโก้ร้านก็ทำได้ดีโดยเฉพาะ การนำเอาพญานาคที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นไทย มาใช้กับตัวหนังสือได้อย่างลงตัว

ปี : 2004 จุดเด่น : การพิมพ์ด้วยกระดาษไขและการพับขอบ

Chilli Box

Chilli TA

จากการค้นคว้าหาขอมูลของทีมงานพบว่ายังไม่มีร้านไทยร้านไหนที่ใช้กระดาษไขพิมพ์งานมาก่อน มีเพียงร้าน Chili Box ร้านเดียวเท่านั้นที่เคยทำออกมาหนึ่งรุ่น การพิมพ์ด้วยกระดาษไขนั้นก็ไม่ใช่เรื่อง่าย แถมเมื่อถึงมือลูกค้าแล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกันที่จะเก็บรักษา

Chilli EA

นอกจากที่พิมพ์ด้วยกระดาษไขแล้วการพับก็ไม่เหมือนใครอีกเช่นกัน เพราะโดยปกติแล้ว ใบปลิวร้านไทยทั่วไปจะพับกันไม่พับครึ่ง ก็พับ 3 หรือพับ 4  แต่ใช้การพับขอบเพื่อสร้างความแตกต่างอีกเช่นกัน แต่สิ่งที่ได้ก็คือความแตกต่างที่สุดขั้วจนทำให้ใครๆ จำร้านนี้ได้และอยากไปลองทานสักครั้งอย่างไม่ต้องสงสัย

ปี : 2004 จุดเด่น : ต้นแบบเมนูยุคใหม่

Wok Station

Wok Station

ถ้าเปรียบเมนูของร้าน Wok Station ยุคแรกๆ ของคุณเบิ้ม ก็อาจเปรียบได้กับแนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ ร็อค ที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลงไทยแบบพลิกฝ่ามือ เพราะแนวความคิดที่แปลกแหวกแนว จนใครเห็นก็อยากทำตามนี้ คือจุดเริ่มต้นของเมนูยุคใหม่อย่างแท้จริง

Wok Stn

เริ่มจากการออกแบบที่เรียกได้ว่าไม่แคร์สื่อแต่แสนที่จะแยบยล อย่างเช่นการใช้รูปข้าวเปลือกที่สื่อถึงอาหารไทย หรือแม้กระทั่งการออกแบบเมนูอาหารที่คล้ายกับปกเทปที่ใช้รูปตัวเองถือตะหลิว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2005 เมนูรุ่นร็อคเวอร์ชั่น ก็คลอดออกมา พร้อมกับสโลแกนเก๋ๆ “stay or go” ที่วัดใจลูกค้ากันไปเลย ต่อด้วยสโลแกน “wok me free after ten” ซึ่งหมายถึง มาทานที่ร้านครบ 10 ครั้ง ครั้งต่อไปมาทานฟรีได้เลย 2 ท่าน

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร นอกจากนี้ ชื่อเมนูอาหารก็ยังเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ Wok station ถือเป็นต้นแบบอีกเช่นกัน อาทิเช่น Dragon Ball, Mid night Plus One, Labour Fry Rice, Anna and The King, Pad Australian, Snow White ซึ่งถ้าไม่อ่านคำอธิบายด้านล่าง ก็ยากที่เข้าใจว่าเมนูนี้คืออะไรกันแน่ รวมๆ ที่แน่ๆ ความคิดสร้างสรรค์แบบนอกกรอบนี้เองที่ทำให้ร้าน Wok Station คือไอดอลของอีกหลายๆ ร้านในปัจจุบัน

ปี : 2005 จุดเด่น : ต้นแบบเมนูหลายสาขา

Doy Tao Thai

Doy Tao thai TA

ดอยเต่าจึงถือได้ว่าเป็นร้านอาหารไทยยุคแรกๆ ซึ่งในสมัยนั้น ยังไม่ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากมายนัก การผลิต Take Away Menu จึงถือเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ โลโก้เต่าบนจานอาหารสื่อถึงธุรกิจและชื่อร้านอย่างชัดเจน เมนูภายในทุกเมนูถูกจัดวางให้อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน ตัวดีไซน์เน้นความเรียบ สีสันสะอาดตา และตัวอักษรที่เด่นชัด ทำให้เมนูธรรมดาๆ ผ่านสายตาผู้อ่านได้โดยง่าย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ร้านดอยเต่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนปัจจุบันขยายกิจการถึง 6 สาขา และมีการผลิต Take Away Menu มาโดยตลอด มีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง แต่ยังคงเน้นความเก๋แบบเรียบๆ เอาไว้ และจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เคยใส่รูปอาหารใดๆ ลงไปในเมนู ซึ่งเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ลูกค้าผู้มารับประทานอาหารสามารถสอบถามกับพนักงานได้โดยตรง สร้างความใกล้ชิดให้กับลูกค้ามากขึ้น รวมถึงไม่ยึดติดในรูปแบบอาหาร การจัดวางอาหาร ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเสมอๆ

จากความสำเร็จนี้ ทำให้การผลิต Take Away Menu ของร้านดอยเต่า กลายเป็นต้นแบบของร้านอาหารหลายๆร้านในเวลาต่อมา

“ถึงแม้ว่าใบปลิวพวกนี้จะค่อยๆ สูญหายไปตามกาลเวลา รวมทั้งวิธีการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าวงรวดเร็วจนยากที่จะคาดเดาได้ว่า ใบปลิวพวกนี้จะเหลือวงจรชีวิติอีกนานเท่าใด อย่างน้อยก็อยากนำเอาใบปลิวรวมทั้งเมนูกินในพวกนี้มานำเสนอและอยากขอบคุณความคิดของเหล่าบรรดาเจ้าของร้านไทยที่สร้างผลงานสุดแหล่มพวกนี้ออกมา ”

ChaYen

ปี : 2010 จุดเด่น : แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร การใช้รูปวาดแทนภาพประกอบ

Sam’s Thai

คุณต้น เจ้าของร้านพูดถึง แนวความคิดของเมนูน่ารักนี้ว่า หลังจากที่ซื้อร้านต่อจากเจ้าของเดิม ก็ต้องการฉีกแนวเมนูให้ต่างจากร้านอาหารไทยทั่วไป เพราะชื่อร้านที่อาจดูเชย แต่อยากทำเมนูให้มันแนว ให้มันเป้งกว่าแค่ชื่อร้าน อยากขายแนวความคิดให้คนที่เห็นใบปลิวนี้ว่า ชื่อนั้นไม่สำคัญ ความอร่อยที่อยู่ในร้านต่างหากคือสิ่งสำคัญที่อยากให้นึกถึง

Sam Thai TA

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร การออกแบบนั้นมีแนวความคิดมาจากเมนูร้านอาหารฝรั่งที่มักใช้ภาพวาดแทนรูปภาพ เริ่มจากหน้าปกเป็นรูปวาดผู้ชายใส่แว่นกำลังนั่งทานอาหารด้วยความเอร็ดอร่อยผู้นี้ ถูกเจ้าของร้านอุปโลกให้เป็นลุงแซม เพื่อตอบคำถามลูกค้าทั่วไปที่เวลาเข้ามาทานอาหารแล้วมักจะถามว่าแซมคือใคร รวมทั้ง “MMM” หรือ อืมม ที่ลอยมาจากปากของลุงแซมนั้น เจ้าของร้านต้องการสื่อถึงความอร่อยขณะรับประทานอาหาร โดยใช้เสียงบรรยายความอร่อยแทนคำพูด

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

และเนื่องจากทางร้านมีจำนวนรายการอาหารที่มากจนไม่สามารถใส่ภาพอาหารพอ ไอเดียจึงมาลงตัวที่การวาดภาพเล็กๆ ประกอบ พร้อมกับสีส้มเพื่อเพิ่มความโดดเด่นของตัวอักษร และรูปวาดเล็กที่สื่อถึงอาหารในเซ็กชั่นนั้นๆ อย่างเช่น ใช้ผักแทน เซ็กชั่นสลัด หรือ ใช้ลูกชิ้นปิ้งเสียบไม่แทน เซ็กชั่นย่าง

ปี : 2011 จุดเด่น : แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร 2 เวอร์ชั่น ขาวและดำ

Classical Thai

Classcial Menu

Taste The History… Feel The Difference… ขึ้นชื่อว่า Classical Thai แล้ว ใบปลิวของร้านนี้นั้นก็ต้องมีอะไรคลาสสิคแน่ๆ ความพิเศษของใบปลิวร้านนี้อยู่ตรงที่ เขาทำออกมาเป็น 2 เวอร์ชั่นพร้อมกัน โดยใช้สีคลาสสิค อย่างสีขาว และสีดำเป็นสีพื้น ส่วนการดีไวซน์ทุกอย่างเหมือนกัน

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

ความโดดเด่นที่แสนลงตัว คือฟอนท์ที่ใช้สำหรับชื่อร้านที่ดูเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความสวยงามแบบพอดีๆ การจัดวางดูสะอาด ไม่มีรูปอาหารมากวนสายตา แต่มีเพียงเครื่อง 2-3 อย่างที่ถูกจัดวางอย่างได้จังหวะ และสีฟอนต์น้ำตาลทองของแต่ละเซ็กชั่นที่ช่วยเพิ่มความคลาสสิคเล็กๆ  จนมองแล้วสบายตาทั้งสองเวอร์ชั่น

ปี : 2011 จุดเด่น : รูปแบบการจัดวาง

Bangkok Bar

Bangkok Bar TA

ใบปลิวของร้าน อาจดูธรรมดาและสีสันก็คล้ายคลึงกับร้านไทยทั่วไปในปัจจุบันที่หันมาเน้นสีแดง ขาวและดำเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของใบปลิวแต่สาเหตุที่ใบปลิวร้านนี้ถูกเลือกมาก็เพราะการจัดวางที่ค่อนข้างลงตัว ไล่ตั้งแต่ฟอนต์ที่ใช้ทำโลโก้ร้านที่เข้ากันได้ดีกับดอกชบาที่สื่อถึงความเป็นไทยได้อย่างลงตัว รูปที่ใช้ ทั้งรูปอาหารและรูปเครื่องเทศก็ถูกจัดวางได้พอเหมาะ โดยเฉพาะรูปเครื่องเทศที่ใช้เป็นหน้าปกก็ทำให้เมนูของร้านดูเด่นขึ้น น่าสนใจขึ้น การแบ่งเซ็กชั่นอาหารก็เช่นกันที่ใช้สีของฟอนต์และเส้นในการแบ่ง จึงทำให้ใบปลิวของร้านดูเป็นระเบียบและโล่งมากขึ้น บวกกับการที่เมนูอาหารที่ไม่ได้ใส่มาเยอะจนเกินไปนัก ขนาดของฟอนต์ที่ใช้ก็เลยดูไม่เล็กจนเกินไป อ่านได้ง่ายและสบ่ยตามากขึ้นดดยเฉพาะคนสูงอายุ

ปี : 2012 จุดเด่น : เมนูกินในแบบพาสปอร์ต

Thai Naan

Thai naan

ถึงแม้ร้านนี้จะเปิดตัวมานานกว่า 17 ปีแล้ว แต่เมนูกินในที่ต้องพูดถึงเป็นเมนูตัวใหม่ล่าสุดของทางร้านที่เจ้าของร้านอยากนำเสนอความเป็นไทยผ่านทางรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยมากกว่าอาหารไทยแบบเดิมๆ

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

คอนเซ็ปที่ทางร้านต้องการนั้น ได้ไอเดียมาจากพาสปอร์ตที่บันทึกการเดินทาง ที่แสตมป์ด้วยชื่อจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับภาพของกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคำบรรยายถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ซึ่งดูๆ ไปแล้วก็ให้ความรู้สึกคล้ายกับเป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่นำเสนออาหารควบคู่ไปกับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไทย ซึ่งแน่นนอนว่า หลังจากที่ลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จ อย่างน้อยคงมีความรู้สึกอย่างเดียวกันคือ อยากไปเมืองไทยไม่มากก็น้อย

ปี : 2013 จุดเด่น : แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร พิมพ์ด้วยกระดาษคราฟท์

Sen Yai

Sen Yai


ร้านอาหารไทยน้องใหม่ในเมืองซิดนีย์ ที่นอกจากจะมีความโดดเด่นในด้านการออกแบบและการตกแต่งร้านแล้ว ใบปลิวของร้านที่ทำจากกระดาษคราฟท์สีน้ำตาล ดูแปลกตากว่าใครนี้ สามารถบอกเล่าตัวตนของร้านได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นแนวทางใหม่ในการเลือกวัสดุของงานพิมพ์ที่แตกต่างออกไปอีกด้วย การดีไซน์นั้นถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่าย ไม่มีลวดลวยอะไรมากมาย มีเพียงรูปเจ้าไก่ที่อยู่บนชามตราไก่นั่นเองที่ไม่ทำให้ใบปลิวดูเรียบจนเกินไปนัก

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

สิ่งที่บ่งบอกความอร่อยของร้านในเมนูนั้นไม่ใช่การใช้รูปภาพอาหารสวยๆ เหมือนร้านไทยทั่วไป แต่กลับใช้ความเก๋าของคำว่า “เจ้าเก่าสูตรดั้งเดิม” และย้ำด้วยคำเบาๆ ว่า “อร่อยถูกปาก รสชาติถูกใจ” พร้อมทั้งโชว์เหนือด้วยโลโก้ร้านที่มีรูปคุณนุ เชฟใหญ่มากประสบการณ์ของร้านเป็นตัวการันตีอีกที นอกจากการดีไซน์ที่ออกแนวเรียบๆ แล้ว การจัดวาง กลุ่มคำ การจัดวางหมวดหมู่ของชนิดอาหารนั้นก็ชัดเจนและง่ายต่อการสั่ง ที่มีทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคำอธิบายอาหาร ซึ่งก็เหมาะกับทำเลที่ตั้งของร้าน ที่ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่ต้องการความรีบเร่ง และมีเวลาจำกัดในการรับประทานอาหาร แบบ Street Food นั่นเอง

ปี : 2013 จุดเด่น : เมนูกินในปกแข็งสไตล์ใหม่

Yok Yor

Yok yor

เปิดตัวร้านด้วยคอนเซ็ป “Thai Food Factory” สิ่งพิมพ์ทุกอย่างที่ออกมาในช่วงแรกก็เลยต้องมีสไตล์เป็นโรงงานหรือ Industry อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เริ่มจากเมนูกินในรุ่นแรกที่เน้นสีดำ เทาซึ่งตัดกับสีเขียวตองของโลโก้ร้านได้ดี บวกกับพื้นหลังที่เป็นรูปวาดของเครื่องจักรที่ทำให้ตัวเมนูดูเบาลงแต่แฝงความน่าสนใจอยู่ในนั้น

แม่แบบใบปลิวเมนูอาหาร

ล่าสุดเมนูกินในเล่มใหม่ของทางร้าน ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน ทางร้านเลือกเปล่ยนสไตล์หันมาใช้เมนูปกแข็งแบบใหม่ และเล่นสีสันแบบสดใส สะดุดตา พร้อมรูปภาพอาหารที่มีการจัดจานอย่างพิถีพิถันจนทำให้อาหารแทบทุกอย่างดูน่ารับประทาน โดยเฉพาะเมนูที่ทำออกมาเอาใจคนไทยนานาชนิดทั้งอาหารคาวและของหวาน  บวกกับการจัดวางที่ลงตัว ไม่ทำให้รูปอาหารกับคำบรรยายดูยุ่งเหยิงจนเกินไปนัก ผลที่ได้ก็คือลูกค้ามีตัวเลือกเวลามาทานมากขึ้นพร้อมกับรูปล่อตาล่อใจ จนเลือกไม่ถูกว่าจะทานอะไรก่อนดี

Yok yor3

เมื่อเวลาผ่านไป การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงคาดเดาได้ยากว่า ใบปลิวพวกนี้จะเหลือวงจรชีวิติอีกนานเท่าใดและเมื่อไหร่จะสูญหายไปตามกาลเวลา อย่างน้อยทางทีมงาน VR Thai ก็อยากนำเอาใบปลิวรวมทั้งเมนูกินในพวกนี้มานำเสนอและอยากขอบคุณความคิดของเหล่าบรรดาเจ้าของร้านไทยที่สร้างผลงานสุดแหล่มพวกนี้ออกมา ซึ่งถ้ามองในแง่ของการออกแบบและแนวความคิดแล้ว สิ่งพิมพ์พวกนี้ถือเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่า สามารถบอกเล่าเรื่องราวของความเป็นมาเป็นไปของร้านอาหารไทยในออสเตรเลียในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดีให้เราได้จดจำว่าอย่างน้อย ครั้งหนึ่ง ร้านอาหารไทยเคยมีใบปลิวและ Take Away Menu ที่เป็นเหมือนธงแดงประกาศศักดาความเป็นร้านอาหารไทย

Related Articles

Leave a Comment