Home Editor's Picks โรงเรียนสอนภาษาไทย แห่งแรกในออส ดร. ทรงศรี ผู้ก่อตั้ง

โรงเรียนสอนภาษาไทย แห่งแรกในออส ดร. ทรงศรี ผู้ก่อตั้ง

by ChaYen
โรงเรียนภาษาไทย

ดร ทรงศรี ฟอแรน สุภาพสตรีอาวุโสท่านนี้เคยเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยชั้นน่า หลายแห่งในประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มเปิด โรงเรียนสอนภาษาไทย ให้แก่ลูกหลานไทยแห่งแรก

ในออสเตรเลียและเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นประธานสมาคม ไทยออสเตรเลียนแห่งรัฐนิวเซาเวลล์ นัดพบกับอาจารย์ที่บ้านของลูกสาวคนเล็กของท่านย่าน North Sydney บ้านเก่าโบราณหลังงาม อาจารย์นั่งรอเราอยู่แล้วที่ระเบียงด้านหลัง ซึ่งสามารถมองเห็นท่าเทียบเรือใบสวยงาม

โรงเรียนสอนภาษาไทย

อาจารย์เริ่มโรงเรียนภาษาไทยยังไง?

เริ่มต้นในปี 191 ตอนนั้นทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสมาคมไทย-ออสเตรเลียนก็เรียนปรึกษาท่านเจ้าคุณพระสุวีรญาณเจ้าอาวาสวัดพุทธรังษีสแตนมอร์ในสมัยนั้นเดี๋ยวนี้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุแล้ว ว่าขออนุญาติใช้ห้องสมุดเล็ก ๆ และศาลาของวัดเป็นอาทิตย์และครึ่งวันเราก็เอา White Board อันนึงใส่หลังรถไปพอถึงก็เอาลงสอนเด็กโต๊ะเก้าอี้ก็ไม่มี ก็หมอบก็คลานกันเรียนกันไปกับพื้นมีเพื่อนมาช่วยคนนึง แล้วก็ได้พี่สุเพ็ญมาช่วยสอนด้วย

โรงเรียนสอนภาษาไทย

ปลายปีเดียวกันนั้น ก็ติดต่อกับคณะคุรุศาสตร์ฬา ว่าเราอยากมีโครงการสอนเด็กภาคฤดูร้อน อย่างที่อเมริกาเขาทำกัน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นกันยังไง ศาสตราจารย์สุมนอมรวิวัฒน์ (สุดบรรทัด) ซึ่งเป็นรุ่นพี่ ท่านก็กรุณาเดินทางมาดู มาสำรวจความพร้อมของชุมชนไทยในนครซิดนี่ย์กับผู้ช่วย คือท่านรอง ศาสตราจารย์ พูนสุข บุญยสวัสดิ์ เมื่อท่านมาเห็น ท่านก็บอกเราว่ามีความพร้อม พอกลับไปก็ไปเสนอโครงการให้ที่คณะ

หลังจากนั้นทางจุฬาฯ ก็ส่งคณะครูมาด้วย 3 ท่านโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยภาคฤดูร้อนจึงได้เริ่มขึ้นในนครซิดนีย์และดำเนินการต่อเนื่องกันมานับเป็นปีที่ 19 แล้วเราก็ขอใช้ชื่อวัดมาตั้งเป็นชื่อโรงเรียนจากท่านเจ้าคุณท่าน กรุณาเจิมป้ายให้รองกงสุลใหญ่ที่ประจำตำแหน่งในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธีซึ่งตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม 1993

โรงเรียนสอนภาษาไทย

แล้วเข้าไปเกี่ยวข้องกับสมาคมไทย-ออสเตรเลียนอย่างไร?

มันเริ่มมาจากคุณจิม สามีของดิฉันมาได้งานที่ออสเตรเลียและมีความคิดที่อยากจะย้ายมาอยู่ที่นี่ แต่ช่วงนั้นเราก็กำลังรับราชการเป็นอาจารย์อยู่ที่ธรรมศาสตร์ ตอนนั้นได้เป็นผอ. แล้วนะก็ต้องเลือกเลือกเอาระหว่างชีวิตครอบครัวกับชีวิตข้าราชการก็เลือก ครอบครัวก่อน ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ถูกนะ คุณฉิมพาลูก ๆ มาอยู่ก่อนเริ่มจากมาอยู่แถว Paddington พอมาอยู่ได้สักพัก

คุณจิมไม่อยากให้ลูกทิ้งเมืองไทย อยากให้มีอะไรเกาะเกี่ยวลูกไว้บ้าง ก็มาเจอ สมาคมไทย-ออสเตรเลียนเลยสมัครเป็นสมาชิกพอดิฉันย้ายมาอยู่ที่นี่ในปี 1981 ทางสมาคมฯ ให้เราเป็นเลขาส่วนนายสมาคมฯ เป็นชาวออสเตรเลียเข้าไปตอนแรกสมาคมฯ มีเงินอยู่ $50 ก็เริ่มจัดกิจกรรมเพื่อหาเงินเข้าสมาคมฯ ก็อาศัยร้านอาหารไทยนี่แหละจัดงานก็ไปขอ อาหารเขามาออกงานบ้าง ริเริ่มจัดงานลอยกระทงเมื่อก่อนจัดที่ Taronga Zoo แล้วก็ย้ายมาสวนชุมชนที่ Auburn แล้วถึงย้ายมาที่ Paramatta

โรงเรียนภาษาไทย

เราทําอยู่ 5-6 ปีก็มาเริ่มทำ โรงเรียนสอนภาษาไทย เพราะคิดว่าสมาคมฯ ก็จะดูดีได้เครดิตเพราะมีโรงเรียนมาอยู่ในความดูแลในฐานะที่ทำงานให้กับสมาคมดิฉันได้มีโอกาสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคม ในช่วงปี 2000 เป็นอยู่ 2-3 ปีกลาออก เนื่องจากคิดว่าเราทำโรงเรียนอย่างเดียวดีกว่าเพราะเราถนัดมากกว่าแล้วสมาคมก็ไม่ค่อยมีการจัดกิจกรรมอะไรมากมายปีนึ่งทำงานครั้งสองครั้งเอง

“โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยภาคฤดูร้อนจึงได้เริ่มขึ้นในนครซิดนีย์และจําเนินการต่อเนื่องกันมานับเป็นปีที่ 19 แล้ว ”

ChaYen
โรงเรียนภาษาไทย

อยากให้อาจารย์เล่าถือเรื่องการโอนเงินของสมาคมไทย-ออสเตรเลียนที่มีการโอนย้ายมาให้กับโรงเรียนอาจารย์มีส่วนเกี่ยวข้อง

ความจริงก็คือเงินของโรงเรียนบัญชีก็เป็นของโรงเรียนการแยกตัวออกจากสมาคมไทยออสเตรเลียนก็เพราะตลอดเวลามันก็ไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว ก็เพียงแค่เอาชื่อไปพ่วงให้สมาคมมันดูดีขึ้นเท่านั้น การบริหารงานก็เป็นคณะบริหารคนละกลุ่มไม่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ต้น ตอนขอแยกออกมาดิฉันและคณะบริหารที่ทำหนังสือขอความเห็นจากบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องส่วนตัวคุณ Steve Warren นายกสมาคมฯ ในขณะนั้นก็เห็นด้วยกับการแยกตัวโดยที่เขาเป็นเอกสารให้เป็นคนแรกเลยคนเย็นเป็นร้อยคนที่สนับสนุนความคิดแล้วเอกสารพวกนี้ก็ยังเก็บไว้อยู่นะ

โรงเรียนภาษาไทย

แล้วบัญชีก็เป็นคนละบัญชีกันของโรงเรียนมีสองบัญชีของสมาคมก็มีอีกบัญชีแยกกันออกโดยสิ้นที่เชิงคนมีอำนาจในการเป็นเบิกจ่ายก็เป็นคนละชุดที่เพราะที่โรงเรียนมีกรรมการของโรงเรียนแล้วบัญชีที่ทั้งของสมาคมฯ และทั้งของโรงเรียนอาจารย์ก็ไม่ใช่เลือกคนที่มีอำนาจในการเบิกจ่ายเลยเงินก็เป็นเงินของทางโรงเรียนที่ผู้ปกครองของเด็ก ๆ จัดหารายได้กันขายของกันมั่ง กิจกรรมพวกนี้ไม่เกี่ยวกับทางสมาคมฯ นะ มันควรจะแยกออกจากกันตั้งนานแล้วด้วย

โรงเรียนภาษาไทย ก็ไม่ใช่ของอาจารย์คนเดียวทุกแต่เป็นของ คนไทยทุกๆคน โรงเรียนเขาก็เจริญมาจนถึงเป็นที่ปรึกษาเวลาเขามีปัญหาคณะกรรมการโรงเรียนเขาเก่ง ๆ กันทั้งนั้น

Dr Songsri

งานที่ทําอยู่ทุกวันนี้เป็นงานที่ท่าแล้วก็ไม่ได้เงินเคยถามตัวเองไหมว่าเหนีอยไปเพื่ออะไร

ก็เพราะเป็นห่วงเยาวชนไทยที่เขาเกิดมาโดที่นี่มากกว่ากลัวว่าพวกเขาจะไม่รู้จักความเป็นไทยโรงเรียนจะช่วยเชื่อมโยงเขาเข้าไปกับศิลปะวัฒนธรรมประเพณีไทยเขาจะมีความผูกพันมีอะไรเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษของเขารู้จักรากเหง้าถ้าไม่มีเขาจะลอยหน้าตาก็เป็นเอเซียถึงเข้ากับสังคมที่นี่ได้ก็ไม่ลึกเพราะหน้าตาเราไม่ใช่จุดสะเทือนใจคือเห็นเด็กยืนพูดหัวผู้ใหญ่จะโทษเด็กก็ไม่ได้เขาไม่รู้เราต้องสอนเขานะ

Dr Songsri

เรื่องครอบครัวอาจารย์เลี้ยงลูกอย่างไร?

อาจารย์กับคุณจิมอยู่กันเหมือนเพื่อนเพราะเราเริ่มจากการเป็นเพื่อนมีอะไรก็พูดกั้นอาจารย์มีลูก 2 คนโชคดีไม่ต้องเคี่ยวเข็ญอะไร เขาเรียนดีมา แต่เด็กคนโตเป็นผู้ชายจบปริญญาเอกด้านสภาพสิ่งแวดล้อมแต่งงานกับคนไทยตอนที่เขาไปทำงานที่เมืองไทย ตอนนี้ทำงานวิจัยให้ CSIRO เป็นหน่วยเสียของรัฐบาลออสเตรเลีย คนเล็กเป็นจักษุแพทย์งานของรัฐบาลออสเตรเลียแต่งงานกับคนออลซิ่ สามีเขาก็เป็นหมอเหมือนกัน คนโตนี่ถึงขนาดดำเนินการประชุมได้ทั้งสองภาษาอย่างเก่งเลยละ่ ต้องให้ลูกเป็นความสำคัญ ภาษาอังกฤษยังไงเขาก็ได้อยู่แล้วพ่อแม่ต้องพยายามชี้นำให้เด็กถ้าเขามาเรียนภาษาไทยอยู่แล้วต้องพยายามให้เขาเรียนไปเรื่อย ส่วนใหญ่พอโตก็จะหยุดเรียนกัน อาจารย์ว่าอันนี้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่นะที่จะต้องช่วยกัน

โรงเรียนภาษาไทย

มีอะไรที่อยากท่ามากแล้วยังหาไม่ได้อย่างที่คิด

อาจารย์มาอยู่ที่ 30 ปีแล้วตัวเราเองก็ 72 ปีแล้วปีนี้เห็นสังคมคนไทยในซิดนีย์มาเยอะอยากขยายโรงเรียนออกไปอีกให้ชุมชนเห็นคุณค่าของโรงเรียนไทยไ ปดูพวกจีนเวียดนามเขาให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากเราต้องมองวงกว้างมันมีประโยชน์ต่อเด็กในอนาคตพ่อแม่ต้องประคับประคอง และสนับสนุนมันถึงจะประสบความสำเร็จ

Related Articles

Leave a Comment