Home บทความอยู่ออส ไหนๆก็อยู่ออสแล้ว ขอเล่าเรื่องออสเตรเลียให้เข้าใจง่ายๆ

ไหนๆก็อยู่ออสแล้ว ขอเล่าเรื่องออสเตรเลียให้เข้าใจง่ายๆ

by ChaYen

ไหนๆก็อยู่ออสแล้ว ขอเล่าเรื่องออสเตรเลียให้เข้าใจง่ายๆ ตามแบบฉบับของผู้เขียนก็แล้วกัน ประเทศออสเตรเลียตั้งอยู่บนเกาะขนาดใหญ่เนื้อที่ประมาณ 7,617,930 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก

มีประชาชนราว 26 ล้านคน เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ แคนเบอร์รา มีการปกครองแบบระบอบสหพันธรัฐเป็นระบบซึ่งตั้งอยู่บนการปกครองแบบ ประชาธิปไตย และแบ่งออกเป็นของรัฐบาลแห่งชาติและรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ

the_first_parliament

ซึ่งมี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ สถาบันที่บุคคลเป็นองค์อธิปัตย์และประมุขแห่งรัฐของเครือรัฐออสเตรเลียแบบสืบราชสันตติวงศ์ ทั้งนี้ พระมหากษัตริย์ออสเตรเลียใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บนระบบรัฐสภาแบบเวสต์มินสเตอร์อันประกอบด้วยลักษณะพิเศษเฉพาะตามในรัฐธรรมนูญแห่งออสเตรเลีย

Queen David Scott

มีผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันชื่อ เดวิด เฮอร์เลย์ ( David John Hurley) และมีนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายสกอตต์ มอร์ริสัน ( Scott Morrison )

ออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่
รัฐนิวเซาท์เวลส์
รัฐควีนส์แลนด์
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
รัฐแทสเมเนีย ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆอยู่ทางตอนใต้ของรัฐวิกตอเรีย
รัฐวิกตอเรีย
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

ส่วนเมืองหลวงแคนเบอร์รา ( Canberra ) จะอยู่ที่ Australian Capital Territory (ACT) ซึ่งอยู่ระหว่างซิดนีย์และเมลเบิร์น ว่ากันว่าเป็นเพราะตกลงกันไม่ได้ว่า ระหว่างซิดนีย์และเมลเบิร์น เมืองไหนสมควรจะเป็นเมืองหลวง เลยต้องตั้ง แคนเบอร์ราเป็นเมืองหลวงสะเลย เข้าทำนองตาอยู่คว้าพุงปลาไปกิน

Aboriginal

ออสเตรเลียเป็นทั้งเกาะ ทั้งทวีป และประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย ชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย มีสองชนเผ่าคือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งคนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนซึ่งอยู่ในออสเตรเลียที่ถูกสำรวจใน ปี 1788

Willem_Jansz_Blaeu
Willem_Jansz_Blaeu
James Cook
กัปตัน เจมส์ คุก

ในปี ค.ศ 1606 กัปตันที่มีชื่อว่า Willem Janszoon ซึ่งเป็นชาวยุโรปได้เดินทางมาค้นพบทวีปออสเตรเลีย ได้สำรวจและทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลียขึ้น ใช้เวลาถึง ปีค.ศ 1770 จึงสำเร็จ และนอกจากนั้นยังมีเรือของชาวยุโรปอีกประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลียซึ่งถูกเรียกขานว่า “นิวฮอลแลนด์” และใน ค.ศ. 1770 นั้นเอง กัปตัน เจมส์ คุก ก็ได้เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์

Willem_Jansz_1605-1606
ภาพจาก www.sl.nsw.gov.au

ในหลายปีต่อมา ค.ศ 1787 สหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นที่คุมขังนักโทษ ซึ่งกองเรือชุดแรกได้เดินทางมาถึงออสเตรเลียขึ้นบกที่อ่าวซิดนีย์ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาจึงสถาปนาให้เป็นวันชาติออสเตรเลีย ซึ่งผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่นั้นเป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร

ใน ค.ศ. 1793 ได้อนุญาตให้มีผู้อพยพจากทุกชาติเข้ามาตั้งรกรากบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ (ค.ศ. 1803) และได้ตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งใน ค.ศ. 1825 ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียด้วย

และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ในปี ค.ศ 1829 ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ ส่วนเซาท์ออสเตรเลียนั้นเป็นรัฐเดียวที่ไม่ยอมรับนักโทษที่อพยพเข้ามา ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษ

ซึ่งภายหลังเรือที่ลำเลียงนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปี ค.ศ 1848 หลังจากนั้นเองได้เกิดการรณรงค์ให้ยกเลิกการรับนักโทษจากเหล่าบรรดาพวกที่อพยพมาอยู่ก่อน และได้ประกาศการยุติการขนนักโทษอย่างเป็นทางการใน ปี 1853 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และ ค.ศ. 1868 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย เป็นที่สุดท้ายนั้่นเอง

Sydney

ซิดนีย์เป็นเมืองที่พลเมืองอยู่หนาแน่นและธุรกิจการเงินสะพัดมากเป็นอันดับหนึ่งของออสเตรเลีย คนไทยส่วนใหญ่มักจะเลือกที่จะมาตั้งรกราก และเรียนที่นี้มากกว่ารัฐอื่นๆ เคยมีคำพูดของคนคนหนึ่งซึ่งมาอยู่ที่นี้ร่วมห้าสิบปีมาแล้วว่า “ซิดนีย์เดินไปทางไหนตามถนน หนทางก็มีแต่เงินทั้งนั้น ขึ้นอยู่ที่เราจะขยันเก็บมันรึเปล่าเท่านั้นเอง” ซึ่งหลายคนก็ค่อนข้างเห็นด้วย

“สังคมคนไทยในออสเตรเลีย จะไม่ได้รวมเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆเหมือนชาติอื่นๆที่ค่อนข้างเหนียวแน่น และช่วยเหลือกัน อาจเป็นเพราะต่างคนต่างตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินแข่งกับเวลา และมีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องส่งเสียเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่เมืองไทย หลายคนเลือกที่จะไม่คบใครมากนัก ไปทำงานกลับบ้านนอนวนเวียนแบบนี้ ”

จิด้า
Somtum

เมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว คนไทยมักจะนิยมเปิดร้านอาหารไทยกันเป็นส่วนใหญ่ รสชาติอาหารหลายร้านในสมัยนั้นจะออกไปทางหวาน เผ็ดน้อย แม้นกระทั่งข้าวผัดยังต้องใส่น้ำตาลเลย ว่ากันว่าถูกใจฝรั่งเป็นยิ่งนัก ซึ่งเป็นยุคทองของร้านอาหารไทยกันเลยทีเดียว เจ้าของร้านหลายคนในสมัยนั้น ก็ขยายกิจการเปิดอีกหลายสาขาเป็นว่าเล่น ส่วนอาชีพอื่นๆมีคนไทยน้อยคนนักที่จะเข้าถึง แต่พอถึงปัจจุบันนี้ คนไทยมีความสามารถมากขึ้น ทั้งเรื่องภาษาและความสามารถจึงได้มีโอกาส เข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐมากขึ้น

Chonsiam

สังคมคนไทยในออสเตรเลีย จะไม่ได้รวมเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆเหมือนชาติอื่นๆที่ค่อนข้างเหนียวแน่น และช่วยเหลือกัน อาจเป็นเพราะต่างคนต่างตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินแข่งกับเวลา และมีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องส่งเสียเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่เมืองไทย หลายคนเลือกที่จะไม่คบใครมากนัก ไปทำงานกลับบ้านนอนวนเวียนแบบนี้ จนเวลาล่วงเลยเป็นปีๆ

Oxford tavern

แต่จากผลพวงของความหมั่นเพียร ฐานะทางการเงินของใครหลายคนก็ดีขึ้น แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่บางคนหาเงินได้มากและง่าย ก็ต้องมีอันต้องอันตรธานหายไปกับการพนัน อาจเป็นเพราะในออสเตรเลียการพนันเป็นที่นิยมในหมู่นักแสวงโชคทั้งหลาย

TAB

หาเล่นได้ง่ายตาม TAB และ PUB ซึ่งมักตั้งอยู่ที่ตามหัวมุมแยกต่างๆ มากมายในซิดนีย์และเมืองต่างๆ ใน Pub นอกจากจะมีเหล้าหลากหลายยี่ห้อให้เลือกดื่มแล้วยังมีเบียร์ที่กดจาก Tap beer ที่เรามักเรียกกันว่าเบียร์สด ขายกันถูกๆ และยังมีตู้ Poker Machines ไว้หยอดเหรียญให้ตบกันอย่างมัวมัน

slot_machines

บางคนติดแบบถอนตัวไม่ขึ้นหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ต้องมาละลายลงตู้กันเลยทีเดียว ส่วนชั้นบนของ Pub มักเป็นห้องพักราคาถูก ซึ่งมีอยู่ไม่มากนักไว้บริการแบบครบวงจร ซึ่งบาง Pub ก็จะมีร้านอาหารไทยในนั้นด้วย ค่าเช่าก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของ Pub บางรายไม่เก็บค่าเช่าเลยก็มีเพราะต้องการให้ดึงดูดนักดื่มที่ท้องว่างหลังเลิกงาน

Crown casino

หลายๆรัฐของออสเตรเลียจะมี Casino ไว้รองรับนักพนันทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ มีห้องวีไอพีสำหรับนักพนันที่กระเป๋าตุงจากทั่วโลก มีบริการห้องพักอาหารและเครื่องดื่มฟรีตลอดระยะเวลาที่นักเล่นเหล่านี้ใช้จ่ายเงิน ซึ่งในแง่เศรษฐกิจแล้ว ธุรกิจนี้สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

Canberra

ไหนๆก็อยู่ออสแล้ว ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายของออสเตรเลียที่ผู้เขียน ไม่สามารถจะถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือได้หมดในคราวเดียว คงต้องติดตามตอนต่อไปในคอลัมน์ “บทความอยู่ออส” ในเวปไซต์ vrthaimagazine.com.au นี้ได้ทุกสัปดาห์

ภาพจาก Wikipedia

Related Articles