Home Editor's Picks 40 ปีการบินไทย เส้นทางการบินในออสเตรเลีย

40 ปีการบินไทย เส้นทางการบินในออสเตรเลีย

by ChaYen
Korakot Chatasingha

40 ปีการบินไทย หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าสายการบินแห่งชาติของคนไทย ที่สร้างความประทับใจมาช้านาน บริษัทนี้ได้ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศออสเตรเลียมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้ว

Thai Airways

จุดนี้คงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและวิสัยทัศน์ในการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการให้บริการและความน่าเชื่อถือในด้านความปลอดภัย คือเบื้องหลังความสําเร็จขององค์กรแห่งนี้

ซึ่งสิ่งคัญของความสําเร็จในวันนี้มาจากความทุ่มเทของพนักงานทุกคน ที่ทําให้ตราเจ้าจําปี โลดแลนอยูู่บนท้องฟ้าอย่างภาคภูมิวันนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณกรกฎ ชาตะสิงห์ ตัวแทนการบินไทย สาขาออสเตรเลีย

คุณกรกฎ ชาตะสิงห์

คุณกรกฎ ชาตะสิงห์ (คุณปู)
ตําแหน่ง General Manager, Thai Airways, Australia

มาจากครอบครัวที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่รับราชการ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คนโดยคุณปูเป็นพี่ชายคนโตและมีน้องชายอีก 2 คนแต่งงานกับ คุณพราภินันท์ชาตะสิงห์ซึ่งปัจจุบันทํางานที่บริษัท ปตท.สผ. จํากัด มหาชน

มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรชายคนโต ภานุชาอายุ 16 ปีกําลังเรียน Year 11 โรงเรยนบางกอกพัฒนาและบตรสาว ุ ณรดา อาย 13 ุ ปีกําลังเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจบการศึกษา ชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรักสําเร็จปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

ภายหลังจาการสําเร็จการศึกษา ได้เข้าร่วมงานกับบ.การบินไทย มาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 1987 รวมระยะเวลาถึงปัจจุบัน 24 ปีโดยเริ่มงานจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายภาคพื้นดิน (Ground Staff) และโอนย้ายไปเติบโตอยู่ในฝ่ายขายกว่า 20 ปีโดยได้ ผ่านตําแหน่ง สําคัญๆ อาทิเช่น

  1. Commercial’s Interlines Sales Manager, Thailand (P.T.O)
  2. District Sales Manager, San Francisco, USA
  3. General Manager, Brunei Darussalam
  4. General Manager, U.A.E & Middle East Region ก่อนดํารงตําแหน่งปัจจุบัน
Thai Airways first logo

สิ่งไหนที่คุณได้จากการบินไทยที่นอกจากตัวเงิน

สิ่งที่สําคัญที่สุดคือประสบการณ์การทํางานในต่างประเทศที่ผมได้รับกว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งก่อให้ เกิดทักษะในการปรับตัว เรียนรู้สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลง การบริหาร การขายและการตลาด เปรียบเทียบในแต่ละตลาดที่มีสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ก็เป็นความรู้และประสบการณ์ที่หาได้ยากใน บริษัทของคนไทยโดยทั่วไป

40 ปี การบินไทยในออสเตรเลีย

ทําไมเราควรใช้บริการสายการบินไทย

ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมอยากให้คนชาวไทยได้ภาคภูมิใจในบริษัทของคนไทยที่บริหารจัดการโดย คนไทย ที่นําพาเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยและแฝงไว้ด้วยศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของคนไทย ออกสู่สายตานานาชาติ กว่า 9 จุดบินใน 34 ประเทศทั่วโลก จนเป็นที่ยอมรับในธุรกิจการบินของโลก โดยสามารถวัดได้จากผลงานติดา ใน 10 ของสายการบินยอดเยี่ยมของโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

โดยในปีนี้ บริษัทฯได้รับรางวัล – อันดับ 2 ประเภทสายการบินยอดเยี่ยมของเอเชีย (Best Asian Carrier) ฐากการประกาศ รางวัล โกลด์ อวอร์ดส์ – อันดับ 2 ประเภทสายการบินระหว่างทวีปยอดเยี่ยม (Best Intercontinental Airlines) จาก 914 Grand Travel Award Ceremony

40 ปี การบินไทยในออสเตรเลีย

ล่าสุด การบินไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินยอดเยี่ยม อันดับที่ 2 ของโลกและเอเชียแปซิฟิค จากการประกาศรางวัล Business Traveller Asia-Pacific Awards 2011 ณ ประเทศฮ่องกง และยังติด 1 ใน 3 อันดับแรกด้านบริการต่างๆ ได้แก่

– อันดับ 2 ของสายการบินที่มีรายการสะสมไมล์ยอดเยี่ยม – อันดับ 3 ของสายการบินที่ให้บริการชั้นธุรกิจยอดเยี่ยม – อันดับ 3 ของสายการบินที่ให้บริการชั้นประหยัดยอดเยี่ยม – อันดับ 3 ของสายการบินที่ให้บริการ ห้องรับรองพิเศษยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Celebreate 40 year Thai Air

ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมาคุณได้ทําอะไรให้การบินไทยบ้าง

– ประเด็นแรกปรับปรุงตัวผลึตภัณฑ์ Product ของการบินไทยในออสเตรเลีย เราได้พยายามขอการ สนับสนุนจากทางสํานักงานใหญ่ ในการนําเอาเครื่องบินแบบใหมล่าสุดที่มีอยู่ในฝูงบินเข้ามาใช้งานใน เส้นทางการบินทุกจุดในออสเตรเลีย โดยเริ่มจากการเอาเครื่องบิน Boeing 777 และ Airbus 340 ที่มีระบบ Infignt Entertainment ทุกที่นั่ง เข้ามาประจําการแทนเครื่องบิน Boeing 747

ในเส้น ทาง SYD, MEL, ENE ขณะเดียวกัน PER ก็ได้ใช้เครื่องบิน Airbus 330 ที่เป็นเครื่องใหม่เข้า มาประจําการ ซึ่งสามารถพูดได้ว่าอายุเฉลี่ยของเครื่องบินที่ใช้ในภูมิภาคออสเตรเลียมีอายุน้อยกว่าค่า เฉลี่ยของบริษัทฯ ค่อนข้างมาก

star950x550

– ปรับปรุงตารางการบิน ให้มีความถี่และความจุที่เหมาะสมกับแต่ละตลาด อย่างน้อย 7 เที่ยวบิน ต่อ สัปดาห์ในแต่ละเมือง ยกเว้น SYD และ MEL ที่มีถึง 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทั้งนี้รวมกันทั้งหมด แล้วจะมีจํานวน 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทย – ผลักดันให้มีการใช้ Digital Marketing เพื่อสนับสนุนการขาย

ในขณะเดียวกันเพื่อประหยัดงบ ประมาณการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ในภาวะที่บริษัทฯ ต้องปรับลดค่าใช้จ่าย แต่ยังคงเข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายของบริษัทฯ ได้อย่างทั่วถึง ผ่านทาง Database ลูกค้าที่มี Loyalty กับบริษัทฯ ได้แก่ Royal Orchid Plus lernbership และบรรดาตัวแทนจําหน่ายฯ

Korakod-Kris

”เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ประเทศชาติเจริญเติบโตได้ เพียงแค่การมาใช้บริการการบินไทยหรือแนะนําคนรอบข้าง ก็ถือว่าคุณเป็นคนสําคัญคนหนึ่งแล้วที่ได้ช่วยสนับสนุนให้สายการบินนี่เจริญเติบโตต่อไป เพราะในทุกๆ ครั้งที่เครื่องบินสัญลักษณ์ เจ้าจําปีเห็นฟ้า นั้นเท่ากับว่า เครื่องบินสัญชาติไทยลํานี้ ได้ประกาศศักดาความภาคภูมิใจ สมบัติ ชาติไทย “การบินไทย” ”

ChaYen

– ให้ความสําคัญด้านการพัฒนาด้านทรัพยากร บุคคล แม้ว่าช่วงระหว่างปี 2008-2010 บริษัท ได้ประสบปัญหามากมายทั้งด้านผลกระทบ การเมือง แต่ด้วยความคิดเชิงบวกพลิกวิกฤต ให้เป็นโอกาส จึงได้เข้าร่วมกับบริษัท Sales Master & Training และรัฐบาลออสเตรเลีย

จัดทําโครงการ Training ให้กับพนักงาน การบินไทยในออสเตรเลียจํานวนกว่า 120 คน โดยทุกคนที่สําเร็จหลักสูตรฝึกอบรมได้รับวุฒิบัตร Certificate 4 จากรัฐบาล ออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นสายการบินต่างชาติสายแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

Mixed-Class

– ยกระดับระบบการติดต่อสื่อสารให้มีความทันสมั โดยมีแผนการปรับปรุงระบบโทรศัพท์ เป็น IP Phone สําหรับทุกออฟฟิศ ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็น Infrastructure ที่เหมาะสมในการพัฒนา Call Centre ให้เกิดขึ้นได้ออสเตรเลีย และสามารถลดต้นทุนด้าน Commนnication และด้าน พ บุคคลากร ได้อย่างมีนัยสําคัญ

– สุดท้ายคือการนําเอาเครื่องบินขนส่งสินค้า (Freigther) เข้ามาทําการบิน ระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมธุรกิจ ExportImport ระหว่างสองประเทศ และขยายโอกาสสําหรับการส่งออกไทย จาก FTA ไทย-ออสเตรเลีย อีกทางหนึ่งด้วย

 Sydney team

มอยสายการบินไทยที่ซิดนีย์ในอีก 4 ปีข้างหน้าเป็นอย่าไร

ที่ซิดนีย์ยังคงเป็นจุดบินที่สําคัญของการบินไทยทั้งในปัจจุบันและใน อนาคต แต่ก็คงจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั้นหมายความ ว่าจะมีสายการบินใหม่ๆ เข้ามาทําการบินมากขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งสายการบินจากประเทศตะวันออกกลาง และประเทศจีน

ดังนั้น การบินไทยจําเป็นต้องพัฒนาทั้งตัวผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อดํารงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันโดยจะต้องเอาเครื่องบินที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ ครบคัน และประหยัดน้ํามันเชื้อเพลิงเข้ามาใช้ ในตลาดนี้

นอกจากนี้ ยังคงต้องมองถึงความสามารถ ใน การลดต้นทุนการดําเนินงานในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Pull Resources ของทั้ง 4 สํานักงาน เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

40 ปีการบินไทย

เราสู้สายการบินอื่นได้อย่างไร ในเมื่อเทคโนโลยีของเราสู้เขาไม่ได้

การบินไทยก็จําเป็นต้องพัฒนาทั้ง Product และ Services ไปพร้อมๆ กัน โดยทางด้านตัว Product ซึ่ง เกี่ยวข้องกับงบประมาณจํานวนมาก ก็คงต้องทําอย่างค่อยเป็นค่อยไปตาม แผนกลยุทธ์ของบริษัท

ดังนั้น การ บริการที่มีให้แก่ผู้โดยสาร ในทุกจุด Contact Points ได้แก่ ก่อนบิน (Pre-Flight), ขณะบิน (In-flight), หลังบิน (Post-Flight) จะเป็นกลยุทธ์สําคัญที่จะใช้แข่งขันกับสายการบินคู่แข่ง

นอกจากนี้เรายังโชคดีที่มีประเทศไทยซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการบินที่มีความหลาก หลายของแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ผนวกเข้ากับการเป็นแหล่ง กําเนิดอาหารไทยที่ได้รับความนิยมระดับโลก ทําให้การบินไทยมีโอกาสนําเอาจุดแข็ง ของประเทศไทยมาสร้างความแตกต่างและสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันในปัจจุบัน

40 ปีการบินไทย

เราจะได้ใช้เครื่อง Airbus 380 ของการบินไทยเมื่อไหร่ แล้วใช้ในเส้นทางไหนก่อน

ครับ บริษัทฯ จะได้รับมอบเครื่อง Airbus 380 ลําแรกในเดือนตุลาคม ปีหน้า และลํา ที่สองและสามจะมาในเดือนพฤศจิกายนและธันวามคมตามลําดับ โดยลําแรกสูตจะ นํามาทดลองทําการบิน เพื่อให้บริการในเส้นทง กรุงเทพฯ – ฮ่องกง แต่หลังจาก ลําที่สองเข้าประจําการแล้วก็จะทําให้เรามีความพร้อมที่จะนําไปบินในเส้นทางยุโรป ซึ่งเส้นทางแรกก็คือกรุงเทพฯ – แฟรงเฟิร์ต

Travel_with thai air

งบประมาณที่ได้มาจากออฟฟิศใหญ่เป็นอย่าไร

ในละปี พนักงานขายในประเทศออสเตรเลียก็จะได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ประมาณ 0.5-1% ของยอดขายในแต่ละปี โดยมีสัดส่วน ของ Cash และ Barter Ticket ที่แตกต่างกันในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ การเงินและผลประกอบการของบริษัท

ดังนั้น การดําเนินกิจกรรม การขายและการ ตลาดเพื่อใช้งบประมาณ หรือบัตรโดยสารเครื่องบิน ตามวงเงินงบประมาณของ แต่ละปี จําเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าและบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

ยกตัวอย่างเช่น ปี 2010 มีแผนการขายและการตลาดในการจัดงาน 10 โครงการ ใช้ Barter Ticket 20 ใบ ในปี 2011 อาจจะมีกําหนดแผนที่จะ 12 โครงการ ใช้ Barter Ticket 24 ใบ ดังนั้นโครงการที่ขอการสนับสนุนเข้ามาภายหลังจาก นี้ก็อาจจะถูกตอบปฏิเสธไป อย่างไรก็ดี

หากท่านใดคิดว่า มีโครงการที่ดีและอยาก เสนอให้การบินไทยพิจารณาเพื่อสนับสนุน ก็ควรจะส่งเรื่องเข้ามาในช่วงการจัดทํางบประมาณ ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปี

40 ปีการบินไทย

ช่วยเล่าให้หัวเกี่ยวกับสายการบิน Thai Smile Airways ว่าคืออะไร

Thai Smile Airways คือ สายการบินทางเลือกใหม่ที่เป็น Light Premium ชูจุดเด่นที่เป็น Trendy Airlines ที่มี ความทันสมัย Friendly ที่มีความคุ้มค่า ซึ่งไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ ลักษณะเดียวกันกับสายการบินต้นทุนต่ํา Sub Brand ของ การบินไทยที่ต้องการสร้างความแตกต่างเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ให้แก่ลูกค้า

โดยผลิตภัณฑ์จะมีภาพลักษณ์ที่มีความทันสมัย เน้นความรวดเร็วของการให้บริการ ส่วนแผนการรับมอบเครื่อง บินของหน่วยธุรกิจ Thai Smile ได้กําหนดการรับมอบเครื่องบิน Airbus A320 เพื่อใช้ในการบฏิบัติการจํานวน 4 ลํา ใน ปี 2555

โดยเริ่มรับมอบลําแรกในเดือนมิถุนายน ส่วนในปี 2556 ทางสายการบินจะได้รับมอบเครื่องอีกสองลํา โดยเริ่ม บินในเดือนกรกฎาคม 2555 เป็นเส้นทางการบินในประเทศ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น เชียงราย และสุราษฎร์ธานี จากนั้น ในปี 2556 จะเริ่มทําการบินในตลาดต่างประเทศ คือ จีนและอินโดนีเซีย ต่อไป

Staff Thai Air

อยากฝากอะไรให้กับคนไทยในซิดนีย์บ้างในฐานะ ตัวแทนขอบการบินไทย

ผมใคร่เรียนให้พี่น้องชาวไทยในออสเตรเลียได้ทราบและภาค ภูมิใจว่า 40 ปีการบินไทย คนไทย บริษัทการบินไทยจํากัด มหาชน ได้ทําการบินเข้ามายังประเทศออสเตรเลียมาเป็นระยะ เวลา 40 ปีแล้ว นับตั้งแต่ปี 1971 จากสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน

จนกระทั่งปัจจุบันนี้จํานวน 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งในส่วน ของผมเองตลอดระยะเวลาที่รับหน้าที่อยู่ สี่ปี กว่าก็ได้พยายาม อย่างที่สุดให้บริษัท การบินไทย เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าในตลาด ออสเตรเลีย ด้วยกลยุทธ์และวิธีการดังที่กล่าวมาแล้ว

40 ปีการบินไทย

ซึ่งผล ตอบรับสะท้อนให้เห็นจากส่วนแบ่งทางการตลาดที่การบินไทย มีอยู่มากกว่า 60% ในการนํานักท่องเที่ยวและผู้โดยสารเข้าไป ยังประเทศไทยตลอดระยะเวลา 3-4ปีที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้การบินไทยของเราเติบโตมั่นคงแข็งแรงต่อไปทั้ง ในออสเตรเลียและตลาดอื่นๆ ทั่วโลก จําเป็นต้องขอให้พี่น้อง ชาวไทยเรา ร่วมให้การสนับสนุนสายการบินไทยของเรา และ เชิญชวนเพื่อนฝูงชาวต่างชาติมาให้ใช้บริการกับ การบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาตินี้ อยู่เป็นสมบัติของประเทศชาติ และคนไทยตลอดไป

Staff Thai Air Syd
Special Thanks: Patsamon Singha-Udom / Assistant to General Manager Australia Chusak Katchamat / Airport Services Manager Sutisak Poonsard / Senior Station Engineer Adulk Binganee / Office and Building Administrator

สุดท้าย ผมก็ใคร่ขอใช้โอกาสนี้ ขอบคุณท่านผู้โดยสารผู้ที่ ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด 40 ปีการบินไทย รวมถึงหน่วยราชการไทย ภาคเอกชน ตลอดจนบรรดาสมาคมตัวแทนชุมชนไทย เพื่อนพนักงานและพี่น้องชาวไทยในประเทศออสเตรเลีย ที่ได้ร่วมทํางานร่วมกันและให้การสนับสนุนบริษัทฯ ตลอดระยะเวลาที่ผมปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่นี่ และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือเช่นเดียวกันจะมีให้กับผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ ที่จะมารับหน้าที่ แทนผมในอนาคตอันใกล้นี้ หากมีอะไรที่จะให้ผมได้ช่วยเหลือท่านทั้งหลายได้ในอนาคตที่ผมจะไปฏิบัติหน้าที่ที่ประเทศอินเดีย ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณ บริษัท การบินไทย จํากัด มหาชน สําหรับที่อ่านวยความสะดวกในการถ่ายภาพภายในสนามบิน และสําหรับภาพประกอบบางส่วน

Related Articles

Leave a Comment